วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Sakonnakhon ประวัติจังหวัดสกลนคร

ประวัติเมืองสกลนคร

        แอ่งอรายธรรมในดินแดน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีที่ใหญ่ๆสองแห่งด้วยกันคือแอ่งโคราชซึ่งเป็นศูนย์แห่งอารยธรรมแห่งอีสานตอนใต้    และอีกแอ่งๆหนึ่งที่ถือว่าเป็นศูนย์รวมขนาดใหญ่ของอีสานเหนือคือแอ่งสกลนครซึ่งในปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุม   6  จังหวัด   ดังนี้คือ     เลย    อุดรธานีสกลนคร  นครพนม     และมุกดาหาร
            เมืองสกลนคร เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานดังปรากฎชื่อเมืองที่เปลี่ยนแปลงมา
ถึง  3  ชื่อ     คือ  เมืองหนองหารหลวง เมืองสกลทวาปีและเมืองสกลนคร หรือ จังหวัดสกลนครในยุคปัจจุบันความเจริญรุ่งเรืองของสกลนครเมื่อพิจารณาจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศาสตร์กล่าวได้ว่าเป็นเมืองที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินมิได้ขาดสาย นับตั้งแต่ยุควัฒนธรรมบ้านเชียง  สมัยลพบุรี สมัยล้านช้างและสมัยรัตนโกสินทร์การปรับตัวของคนกลุ่มต่าง         ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทำให้เกิดวัฒนธรรมและเหลือหลักฐานไว้เป็นมรดกตกทอดทั้งในด้านโบราณสถานโบราณ โบราณวัตถุรวมทั้งประเพณีความเชื่อมากมาย สืบทอดมาจนทุกวันนี้สกลนครจึงเป็นที่มี
มรดกทางวัฒนธรรมโดดเด่น จนเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า "อู่อารยธรรมในแอ่งสกลนคร"
          ปัจจัยที่ทำให้สกลนครเป็นที่รวมของผู้คนในอดีตคือความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและเส้นทางคมนาคมทั่งภายในและภายนอก เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตทั้งยัง
มีความปลอดภัย ดังจะเห็นได้จากที่เทือกเขาภูพานเป็นขอบแอ่งกะทะเป็นแนวยาว    นับจากอุบลราชธานี มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี   และ  กาฬสินธุ์
            เทือกเขาภูพานจึงเป็นแหล่งที่เหมาะจะใช้เป็นที่พึ่งพาอาศัยในการหลบซ่อนตัวเพื่อความปลอดภัยและมีแหล่งอาหารทั้งพืชและสัตว์อุดมสมบูรณ์รวมทั้งมีแร่ธาตุธรรมชาติ เช่น แร่เหล็กซึ่งนำมาหลอมหล่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ        จึงก่อให้เกิดพิธีกรรมตามลัทธิความเชื่อในบริเวณเทือกเขาภูพาน มีการค้นพบแหล่งโบราณคดีเป็นจำนวนมาก แสดงถึงการมีชุมชนเกิดขึ้นมานานนับพันปีมาแล้วและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน   เทือกเขาภูพานยังมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นแหล่งต้นน้ำ หรือแหล่งกำเนิดลุ่มน้ำหลายสาย
         ลำน้ำอูน    ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ในหุบเขาภูพานในเขตอำเภอกุดบาก ไหลลงออกจากหุบเขามาทาง
อำเภอวาริชภูมิ ไปยังเขตอำเภออากาศอำนวย อำเภอนาหว้า และออกไปบรรจบกับแม่น้ำสงครามใน เขตอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ในส่วนที่ไหลผ่านอำเภออากาศอำนวย อำเภอนาหว้า และ
อำเภอศรีสงคราม เป็นแหล่งชุมชนที่สำคัญทั้งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และยุคอิทธิพลล้านช้างใน
พุทธศตวรรษที่ 21 - 23
        ลำน้ำพุง   มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณหุบเขา ต้นลำน้ำพุง เช่นบ้านนาผาง ตำบลปลาซิวเป็นแหล่งชุมชนสำคัญก่อนประวัติศาสตร์และยุคเหล็ก มีภาพสลักรูปคน รูปสัตว์ เช่น ควายและสัญลักษณ์อีกมากมายลงในผาหิน
       ส่วนลำน้ำก่ำ    ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูพานไหลลงสู่หนองหาร อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ตั้งเมืองหนองหารหลวงนั้น นับเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่สำคัญในสมัยลพบุรีพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 ดังนั้น ในเขตลุ่มน้ำสงครามตอนบน มีชุมชนเกิดขึ้นมานานนับแต่สมัยประวัติศาสตร์
       ด้วยสภาพภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต ทั้งในส่วนเทือกเขาและที่ราบในแอ่งสกลนคร จึงทำให้สกลนครเป็นแหล่งชุมชนมาช้านานก่อให้เกิดยุคสมัยของวัฒนธรรมต่อเนื่องกันมากตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบันสกลนครก่อนประวัติศาสตร์
          หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีในช่วงสมัยหิน เข้าสู่ยุคสำริด - เหล็ก ในแอ่งสกลนครมีศูนย์กลางที่บ้านเชียง บ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งนักโบราณคดีได้ขุดค้นระหว่าง   พ.ศ. 2533 - 2524พบว่าโครงกระดูกของคนยุคก่อน ประวัติศาสตร์เหล่านี้ มีอายุระหว่าง   32000 - 1000 ปี    ก่อนพุทธศักราช ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนที่เก่าแก่ที่สุดในยุคก่อนประวัติศาสตร์       ความโดดเด่นของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง คือการขุดพบหลักฐานเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตอันได้แก่ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบหลายลักษณะ มีทั้งชนิดผิวเรียบ ผิวหยาบ ลายขูดขีด ลายเชือกทาบและชนิดเขียนสี ซึ่งถือว่าเป็นภาชนะที่ใช้ใส่อาหารให้ผู้ตายในพิธีกรรมฝังศพ นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เปลี่ยนจากการใช้หิน มาเป็นเครื่องมือโลหะทองแดง และดีบุก ในเบ้าหลอม
          ความเจริญที่เรียกว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงนั้น เกิดในชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งมีเครือข่ายสัมพันธ์กันกับหลายแห่ง ในดินแดนภาคอีสานและยังมีการติดต่อกับชุมชนในเขตยูนนานทางตอนใต้ของจีน
และเวียดนาม ซึ่งมีความรู้ในเรื่องโลหะวิทยาเป็นอย่างดีจึงทำให้ชุมชนเหล่านี้สามารถผลิตและพัฒนาการสำริด - เหล็ก ร่วมสมัยกัน แต่ชุมชนเล็ก ๆ หมู่บ้านเชียงไม่อาจพัฒนาการผลิตสำริด - เหล็กให้เป็นอุตสาหกรรมได้เพราะประชากรน้อยและยังเป็นสังคมเกษตรกรรมจึงทำให้การผลิตโลหะเป็นเพียงเพื่อ การใช้ในครัวเรือนหรือชุมชนของตนเท่านั้น
          ในช่วงระยะเวลาต่อมาอีกประมาณ 500 ปี คือ ราว 2500 ปี ก่อนพุทธศักราชศูนย์กลางการผลิต ซึ่งเน้นเรื่องเหล็กและการผลิตเกลือได้เกิดขึ้นในบริเวณ      แอ่งโคราชและลุ่มน้ำสงครามแถบสกลนคร ทำให้ผู้คนในชุมชนบ้านเชียงเคลื่อนย้าย ส่วนหนึ่งไปสู่แอ่งโคราช    และส่วนหนึ่งเคลื่อนย้ายไปอยู่บริเวณลุ่มน้ำระหว่งห้วยยาม กับห้วยปลาหาง      ในเขตบ้านสร้างดู่         บ้านโนนเรือ บ้านดอนเขืองในเขตอำเภอสว่างแดนดินและในเวลาต่อมาก็กระจายเข้าสู่พื้นที่รอบ ๆ บริเวณหนองหารหลวงสกลนคร ดังปรากฎหลักฐานภาชนะเครื่องปั้นดินเผา เป็นรูปแบบวัฒนธรรมบ้านเชียงตอนปลาย ในหมู่บ้านหลายแห่งรอบ ๆ หนองหารสกลนคร
          ยุคสำริด - เหล็ก ในสกลนคร
          ในช่วงเวลา 3000 ปี จนถึง 2500 ปี  ก่อนพุทธศักราช  มีผู้คนอพยพเคลื่อนย้ายลงมาจากจีน
ตอนใต้แถบยูนนาน และเวียดนามตอนเหนือ เข้ามาในแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช ทำให้ประชากร
ในภาคอีสานเพิ่มขึ้นอย่างมาก เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นนับตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา ประกอบกับ
การเคลื่อนย้ายของผู้คนบางส่วนที่ไป มาหาสู่กันระหว่างแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ทำให้อุตสหกรรมการผลิตเหล็กเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากกว่าการผลิตสำริด   ซึ่งพบหลักฐานไม่มากนักในเขตบ้านเชียง   การเคลื่อนย้ายของผู้คนเข้าสู่แหล่งทรัพยากรแร่เหล็ก ตามเขตลุ่มน้ำสงครามตอนบน ทำให้พบแหล่งผลิต  และชุมชนที่อาศัยเครืองมือเหล็กหลายแห่ง    ในเขตจังหวัดสกลนคร ซึ่งพบหลักฐานเป็นเครื่องมือและอาวุธเหล็กจำนวนมากที่บ้านใหม่พัฒนาตำบลสร้างค้อ กิ่งอำเภอภูพานในเขตบ้านหนองสะไน   ตำบลนาม่วง   อำเภอกุดบาก   มีทำเลอยู่ในหุบเขาต้นกำเนิดลำน้ำอูนทั้งยังมีผู้พบโครงกระดูกมนุษย์   เครื่องประดับสำริด   ลูกปัดแก้ว เครื่องมือเหล็ก ภาชนะเขียนสีบ้างเล็กน้อย      และภาชนะลายเชือกทาบที่ชุบน้ำโคลนสีแดงเป็นส่วนใหญ่ถือได้ว่าเป็นยุคเหล็กตอนปลายแล้ว
        จากการศึกษาของ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม และ ดร.พรชัย สุจิต พบว่าอุตสาหกรรมเหล็กนั้น เริ่มขึ้นราว 2400 ปี ก่อนพุทธศักราช ส่วนการผลิตอุตสาหกรรมเกลือเกิดขึ้นในราว 2000 ปี ก่อนพุทธศักราช
          ผลการเปลี่ยนแปลงทางการผลิต โดยเฉพาะการถลุงเหล็ก และการผลิตเกลือซึ่งต้องใช้กำลังคนทำงานร่วมกัน ทำให้ชุมชนมีขนาดใหญ่ มีผู้คนหนาแน่น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างคูน้ำและคันดินล้อมรอบชุมชนเพื่อจะกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคในฤดูแล้ง    นอกจากนี้คูน้ำและคันดินยังช่วยในการป้องกันการบุกรุกของฝ่ายศัตรูอีกด้วย
          แหล่งโบราณคดียุคเหล็กที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งคือ บริเวณบ้านพาน ตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนครบริเวณนี้ตั้งอยู่บนที่ดอนสูงมีถนนสานอุดร – สกลนครตัดผ่านบ้านพาน พัฒนาไปยังบ้านพังขว้างและบ้านธาตุ     เข้าสู่ตัวเมืองหนองหารสกลนครเป้นเนินขนาด 3 x 1.5   ตารางกิโลเมตร   รอบ ๆ เนินเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำหลายสายไหลจากเทือกเขาภูพาน คือลำห้วยปลาเข้ง   และลำห้วยนาคอง ซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำอูนในบริเวณนี้ พบภาชนะลายเชือกทาบขนาดเล็กและใหญ่     ลูกกลิ้งประทับลวดลายดินเผาลูกปัดแก้ว เครื่องประดับสำริดภาชนะดินเผาเคลือบแกร่ง และเครื่องมือเหล็กชนิดต่าง ๆ จำนวนมาก ถือว่าเป็นสมัยยุคเหล็กตอยปลายเชื่อมต่อสมัยมวารวดี
       สมัยยุคเหล็กเป็นช่วงที่ชุมชนอาศัยพื้นที่ราบทำการเกษตรกรรม   ปลูกข้าวเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งาน และแม้ว่าชุมชนเหล่านี้จะอาศัยที่ราบทำการเพาะปลูก แต่ด้วยระบบความเชื่อและเพื่อความปลอดภัย ทำให้เกิดชุมชนในที่สูงตามบริเวณเทือกเขาภูพานเกิดศิลปะถ้ำที่มีทั้งการขีดเขียนหรือการเซาะร่องลงในแผ่นหินทราบและภาพเขียนสีตามเพิงผาอย่างเช่น ภาพสลักผาหินที่ถ้ำผาลาย ภูผายนต์ ในเขตบ้านนาผาง     ตำบลกกปลาซิว นับเป็นแหล่งภาพสลักหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ถ้ำพระด่านแร้ง ในเขตบ้านห้วยหวด     ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอยและภาพเขียนสีที่ถ้ำผักหวาน    บ้านภูตะคาม      ตำบลท่าศิลา       อำเภอส่องดาวแหล่งโบราณคดีเหล่านี้ล้วนอยู่ในเทือกเขาภูพานทั้งสิ้น
         ยุคเหล็กจึงเป็นยุคสำคัญเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนเข้าสู่การผลิตเครื่องมือเหล็กที่มีคุณภาพคงทนกว่าสำริดและสามารถหาทรัพยากรธรรมชาติโดยง่ายบริเวณเทือกเขาภูผาเหล็กซึ่งเป็นแหล่งชุมชนที่เชื่อมต่อวัฒนธรรมบ้านเชียงและเป็นคำตอบว่า เหตุใดจึงเกิดการกระจายตัวของชุมชน จากบ้านเชียงเข้าสู่เทือกเขาภูพานแถบสกลนครมนุษย์มีความเชื่ออันเกิดจากศรัทธามาเป็นเวลาช้านานมาทุกยุคทุกสมัยศิลปะถ้ำอันเกิดจากชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์       ก่อนที่พุทธศาสนาเข้ามาอาจเชื่อ   ในระบบภูติผี วิญญาณ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว และคติแห่งการเกิดความอุดมสมบูรณ์ของเผ่าพันธ์และพืชพันธุ์ธัญญาหาร    สิ่งเหล่านี้จึงปรากฎในศิลปะถ้ำ   เพียงแต่ขาดการศึกษาในระดับลึกเท่านั้น     เมื่อมนุษย์กลุ่มใหม่เข้ามาพบเห็นภาพศิลปะ      ก็อาจจินตนาการรจนาเรื่องราวให้สอดคล้องกับความเชื่อของตน จึงมีการเล่าขานกันต่อกันมาเป็นวรรณกรรมมุขปาถะและวรรณกรรมลายลักษณ์ขึ้น เรื่องอันเกี่ยวกับภูผายนต์นี้ชาวบ้านเชื่อว่า      เป็นที่อยู่ผีที่ให้คุณซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเรื่องนิทานเจ้าตนผู้วิเศษ    ของชาวผู้ไทยเมืองวัง   ที่ได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งที่กุดสิมนารายณ์และบ้านพรรณานิคม เมื่อ พ.ศ. 2387 ซึ่งภายหลังเชื่อว่า เจ้าตนผู้วิเศษได้เข้าสิงสู่ผู้หญิงในหมู่บ้านนางผู้นั้นจึงได้ชื่อว่านางเทียม ผู้คนทั้งหลายไม่เรียกว่าเจ้าตนผู้วิเศษแต่เรียกว่าเจ้าถลาเจ้าผู้ข้า เจ้าภูเขากล้า เจ้าฟ้ามุงเมือง แต่คนทั่วไปเรียกสั้น ๆ ว่าถลาหรือมเหสักข์ อันเป็นชื่อทรงเกียรติเมื่อเจ้าถลาเข้าทรงเป็นนางเทียมแล้ว ชาวบ้านเมืองจึงได้สร้างหอประดับประดาด้วย เครื่องอุปโภคบริโภค    แต่งเครื่องสักการะนำไปอัญเชิญองค์มเหสักข์ที่วังสามหมอให้เสด็จมาประทับที่หอนั้นและเรียกว่าหอมเหสักข์    เพื่อดูแลคุ้มครองผู้นับถือกลายเป็นประเพณี บูชามเหสักข์มาจนทุกวันนี้
       การผลิตเกลือสมัยก่อนประวัติศาสตร์
         แหล่งทรัพยากรธรรมชาติเหล็ก   เป็นปัจจัยสำคัญดึงดูดผู้คนให้เคลื่อนย้ายเข้าสู่บริเวณสกลนคร   และเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดของชุมชนหมู่บ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณในราว 300 ปีก่อนพุทธสศักราชมาแล้ว   ในเวลาต่อมาทรัพยากรธรรมชาติอีอย่างหนึ่งที่ดึงดูดประชากรให้เข้ามาทำอุตสาหกรรม      นับต่อเนื่องจากสมัยการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้    เหล็กคือ  เกลือซึ่งเป็นสิ่งทีทจำเป็นต่อการดำรงชีวิต   และบางแห่งเท่านั้นที่เป็นชั้นเกลืออยู่ใต้ดินจำนวนมากๆมิได้พบทั่วไปในภาคอีสาน
       การสำรวจของนักโบราณคดีในช่วง   พ.ศ  2538-2539   พบว่าบริเวณระหว่างพื้นที่ในเขตที่ลำน้ำยามไหลลงลำน้ำสงคราม   และน้ำอูน ในเขตเภอนาหว้า   จังหวัดนครพนม  และอำเภออากาศอำนวย       จังหวัดสกลนคร        มีโพนเกลือซึ่งเกิดจากการทับถมภาชนะดินเผาต้ม-เกลือกองสุมกัน   เป็นโพนขนาดใหญ่ถึง  9     แห่ง      สภาพพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ดินเค็มจัด
บางแห่งมีน้ำเกลือใต้ดินพุขึ้นมาแต่ในปัจจุบันชาวบ้านยังได้ตักน้ำเกลือไปต้มผลิตเกลือขายเป็นรายได้ในช่วงฤดูแล้ง
          แหล่งโพนเกลือทั้ง   9  แห่ง คือที่วัดโนนสวรรค์   บ้านเม่นใหญ่  ตำบลอากาศ   อำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร   ที่สำนักสงฆ์โพนช้างขสวสันติธรรม   เนินดินแห่งนี้อยู่ห่างจากวัดโนนสวรรค์มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 -2 ก.ม. ที่โนนส้มโฮง   บ้านท่าเรือ   ตำบลท่าเรือ     อำเภอนาหว้า    จังหวัดคนรพนม    ที่โพนแต้     บ้านท่าเรือ   ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม   ที่โพนกอก   บ้านท่าเรือ     ทำเภอนาหว้า   จังหวัดนครพนม  ที่โพนตุ่น   บ้านบะหว้า  ตำบลท่าเรือ   อำเภอนาหว้า    จังหวัดนครพนม   ที่โนนจุลณี    บ้านบะหว้า     ตำบลท่าเรือ    อำเภอนาหว้า  จังหวัดนครพนม   ที่วัดโพธ์เครือ  บ้านเสี่ยว   ตำบลบ้านเสี่ยว  อำเภอนาหว้า   จังหวัดนครพนม   ที่สำนักสงฆ์ร้างโนนหัวแข้-สันติธรรม   บ้านเสี่ยว  อำเภอนาหว้า   จังหวัดนครพนม  
           แม้ว่าการพบโพนดินขนาดใหญ่ทั้ง   9  แห่ง   ซึ่งเกิดจากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่คาดว่าจะเป็นภาชนะต้มเหลือด้วยความร้อนจนร้าวเมื่อน้ำเกลืองวดแห้งจึงต้องทิ้งเป็นภาชนะกองเป็นเนินดินก็ตาม       แต่ปัจจุบันเนินดินแห่งนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์จากนักโบราณคดี  นักธรณีวิทยาแต่อย่างใด
        อย่างไรก็กีนักโบราณคดี   เชื่อว่าเศษภาชนะลายเชือกทาบแบบบ้านเชียงตอนปลายที่พบ
ในบริเวณนี้     จะเป็นหลักฐานสำคัญที่พอจะอนุมาณได้ว่าบริเวณนี้    น่าจะเป็นชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์    ประกอบกับเศษภาชนะ   ซึ่งเป็ฯส่วนหนึ่งของหม้อบรรจุเกลือที่พบแสดงหลักฐานกรรมวิธีในการต้มเกลือ เช่นเดียวกับที่พบในแอ่งโคราชที่ผลิตเกลือส่งออกจำหน่ายในชุมชนเขมรโบราณอาณาจักรเจนละบก ไม่แตกต่าง จากเกลือจากแอ่งโคราชซึ่งมีผลิตส่งไปขายอาณาจักรเขมรตลอดมาจนถึงสมัยทวารวดีและสมัยลพบุรี
        สกลนครสมัยทวารวดี
        วัฒนธรรมทวารวดี      เป็นวัฒนธรรมที่ได้รับจากการติดต่อกับอินเดีย    แล้วพัฒนาการขึ้นเป็นบ้านเมือง ในดินแดนประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12   เป็นต้นมาโดยที่บ้านเมืองเหล่านี้เคยเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิม   ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์   มาแล้วเป็นส่วนใหญ่
          จากหลักฐานโบราณคดี   สามารถยืนยันได้ว่า    ระหว่างพุทธศตวรรษที่   12 - 16บ้านเมืองในภาคอีสานได้เจริญขึ้นเต็มที่แล้ว      โดยได้รับอารายธรรมด้านศาสนาการปกครองตลอดจนระเพณีบางอย่างจากอินเดีย  แพร่หลายผ่านญวนและเขมรขึ้นไปตามลำน้ำโขงทางหนึ่งและอีกทางหนึ่งผ่านภาคกลางที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังภาคอีสานอีก   2    เส้นทาง  คือผ่านช่องเขาในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ์   ละแวกลำนารายณ์ชัยบาดาลเข้าสู่ลำน้ำมูล    ลำน้ำชีทำให้อิทธิพลทวารวดีแพร่ไปยังเขตชัยภูมิ   ขอนแก่น  มหาสารคาม   กาฬสินธุ์  และสกลนคร  อีกเส้นทางหนึ่งผ่านไปทางช่องเขาพนมดงรักด้านตาพระยาอรัญประเทศเข้าสู่ลำน้ำมูลด้านจังหวัดบุรีรัมย์
        เนื่องจากในช่วงที่อิทธิพลทวารวดีเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยนั้น    ในช่วงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่    15-16    อิทธิพลขอมศิลปะแบบลพบุรีก็เผยแพร่เข้ามาด้วยจึงทำให้ศิลปกรรมแบบทวารวดีได้รับอิทธิพลขอมไปด้วย โดยแสดงในอิทธิพลการนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
        ในด้านประวัติศาสตร์ศิลปะมีความเห็นจากหลักฐานโบราณวัตถุที่พบโดยแข่งออกเป็น3 แบบ   คืออย่างแรก   ราวพุทธศตวรรษที่   11-13   ศิลปะทวารวดี   ได้รับอิทธิพบศิลปะแบบคุปตะและหลังคุปตะในอินเดีย   รูปแบบที่สอง   ระหว่างพุทธศตวรรษที่  13-16   พุทธศาสนามหายานได้เผยแพร่เข้าไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประติมากรรมรุปเคารพจึงเป็นคติมาหายาน มีการขุดพบรูปพระโพธิสัตว์ได้จำนวนมาก        ในข้อสุดท้ายระหว่างพุทธศตวรรษที่   15-18   ศิลปะทวารวดีได้รับอิทธิพลเขมรโบราณแบบปาปวน    อย่างไรก็ดีรูปแบบศิลปะดังกล่าวยังผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่นเช่น  รูปแบบเสมาหินในภาคอีสาน   ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไป
        หลักฐานทางโบราณคดี      สมัยทวารวดีในเขตสกลนคร     มีหลายแห่งตามบริเวณเทือกเขาภูพาน  ที่ถูถ้ำพระบ้านหนองสะไนอำเภอกุดบาก        พระพุทธรูปดินดิบพิจารณาพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี     มีพระพุทธไสยาสน์     สมัยทวารวดี แกะสลักที่หน้าผาหินทรายส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน       ในบริเวณวัดเชิงดอยเทพรัตน์บ้านม่วง  และในเขตรอบ  
หนองหารหลวงพบพระพุทธรูปทวารวดี      ปางสมาธิมารวิชัย     ที่วัดมหาพรหมเทโวโพธิราช ริมหนองหาร   บริเวณนี้นับเป็นชุมชนเก่าที่มีผู้อยุ่อาศัยต่อเนื่องกันมาโดยตลอดนับจากสมัยทวารวดีสมัยลพบุรีและสมัยล้านช้าง        นับเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญนอกจากมีหลักฐานพระพุทธรูปแล้วยังปรากฏเสมาหิน    8    ทิศ   ปักที่เนินดินแสดงเขตพิธีกรรม

        แหล่งที่พบเสมาหินในสกลนคร   มีจำนวนหลายแห่ง   เช่น   บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุม   บริเวณโพนดอนหินบ้านผักขะย่า ตำบลขมิ้น ในเขตลำน้ำอูน และในเขตวัดดอนกรรม    บ้านพันนา   อำเภอสว่างแดนดินเป็นที่น่าสังเกตว่า   ในบริเวณรอบ ๆ   หนองหารพบเสมาหินจำนวนมาก   เสมาหินบางหลักบ่งบอกว่าเป็นเสมาหินสมัยทวารวดี   ตอนปลาย   ทั้งนี้โดยสังเกตลวดลายใบไม้ประดับหม้อน้ำแกนกลางองค์สถูป   มีลวดลายวิจิตรพิศดารมากขึ้นกว่าเดิม
        รศ. ศรีศักร  วัลลิโภดม   นักโบราณคดีผู้ศึกษาเรื่องเสมาหิน   มีความเห็นว่าเสมาหินวัฒนธรรมสมัยทวารวดี  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำหน้าที่   3  อย่างคือ   กำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์โดยล้อมรอบเขตพิธีกรรมในพุทธศาสนา   สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว   นำไปปักไว้ในเขตตศักดิ์สิทธิ์ โดยล้อมรอบเขตพิธีกรรมของพุทธศาสนาและสร้างเสมาหินขนาดใหญ่   ทำหน้าที่แทนพระสถูปเจดีย์
      อย่างไรก็ดี  การสร้างเสมาหินล้อมรอบเขตศักดิ์ในพุทธศาสนา   ได้ขยายหน้าที่เป็นการปักล้อมรอบเขตโบราณสถานแม้ในสมัยลพบุรี   รูปแบบเสมาหินในแถบสกลนครมีขนาดไม่สูงนัก แกนกลางสลักเป็นรูปพระสถูปมีหน้าน้ำแสดงความอุดมสมบูรณ์นอกจากจะพบเสมาหินแบบดังกล่าวในเขตสกลนครแล้วยังพบในเขตธาตุพนม การพบเสมาหินจำนวนมากในชุมชนขนาดใหญ่แสดงให้เห็นว่า   การตั้งเป็นบ้านเมืองได้เริ่มแล้วในสกลนคร   ในยุคทวารวดีประมาณ     1000   ปีก่อนพุทธศักราช ก่อนที่จะเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่  ในพุทธศตวรรษที่    15 -16     โดยอิทธิพลขอม
        สกลนครในสมัยลพบุรี
         เป็นที่ทราบโดยหลักฐานทางโบราณคดีว่า   ดินแดนภาคอีสานมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรขอมอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่    16-18     ทำให้มีการรับวัฒนธรรมแบบขอมทั้งในด้านอำนาจการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและศาสนา   โดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่   16     เมืองลพบุรีเป็นศุนย์กลางอำนาจ
ที่สำคัญส่งผลให้บ้านเมือง ในภาคอีสานมีรูปแบบศิลปะขอมตามแบบอย่างในลพบุรี       จึงมีผู้เรียกอิทธิพลขอมในภาคอีสานว่า   ศิละปะขอมนั่นเอง
      อย่างไรก็ตาม   ผู้คนในชุมชนอีสานมีความสัมพันธ์กับชุมชนในอานาจักรขอมโบราณมานานแล้วนับแต่พุทธศตวรรษที่ 12   เมื่อชุมชนในภาคอีสานได้รับอิทธิพลทวารวดีก็รับอิทธิพลขอมมากด้วย   และทั้งทวารวดีและขอมต่างก็ส่งอิทธิพลให้กันและกันมาโดยตลอดส่วนหนึ่งเกิดจากการผลิตเกลือในบริเวณแอ่งโคราชนำไปขายในดินแดนที่เรียกว่า   "เจนละบก"
       การขายอิทธิพลทางการเมืองของเขมรนับจากพุทธศตวรรษที่   16   เป็นต้นไปขยายไปเป็นบริเวณกว้างขวางในภาคอีสานและภาคกลางของประเทศไทยดังปรากฏมีโบราณวัตถุโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ลุ่มน้ำมุลและลุ่มแม่น้ำโขง   เกิดการพัฒนาจากชุมชนเป็นบ้านเมืองแตกต่างไปจากสมัยทวารวดี
            ในขณะที่ชุมชนขยายใหญ่ขึ้น   ปัญหาก็ตามมาโดยเฉพาะแหล่งน้ำ   ขอมจึงนำเทคโนโลยีการกักเก็บน้ำมาแก้ปัญหา   โดยขยายชุมชนขึ้นสุ่ที่สูงตามไหล่เขา   แล้วขุดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อรับน้ำจากที่สูงหรือเมื่อน้ำไหลท่วมท้นก็กักเก็บน้ำไว้ใช้   โดยการปล่อยน้ำให้ชุมชนทำการปล่อยน้ำให้ชุมชนทำการเกษตรได้   การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้ได้ผลต้องอาศัยศาสนสถานเป็นเครื่องเหนี่ยวนำดังเหตุนี้ขอมจึงนิยมสร้างศาสนสถานอันเป็นศูนย์กลาง   การปกครองให้คนอยู่รอบ ๆ   ที่ไหนมีปราสาท   ที่นั่นมีอ่างเก็บน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร   นับเป็นเทคโนโลยีสูงสุดในยุคนั้น
        นอกจากการสร้างปราสาทเป็นศาสนสถาน   เพื่อบูชาเทพเจ้าตามลัทธิพราหมณ์หรือพุทธศาสนามหายานแล้วการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น   แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของขอมคือการสร้างโรงพยาบาลที่เรียกว่า   อโรคยศาลตามริมทางเป็นระยะในรูปแบบปราสาทหรือกู่เพื่อให้ประชาชนผู้เจ็บป่วยรักษากับแพทย์ผู้ชำนาญการ   จึงนับว่าขอมเป็นผู้สร้างอารยธรรมแบบชุมชนเมืองให้เกิดขึ้นในภาคอีสาน
          สกลนคร   หรือ    เมืองหนองหารหลวงถือว่าเป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลขอมเต็มที่ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีและจารึกอักษรขอมหลายแห่ง   นอกจากนี้ยังมีตำนานบ้านเมืองที่กล่าวอ้างถึงพญาขอมผู้ตั้งเมืองแห่งนี้   จึงนับว่าเป็นเมืองที่มีหลักฐานมากที่สุดในเขตอีสานตอนบน   นับจากตัวเมือง
ที่สามารถเห็นได้จากภาพถ่ายทางอากาศเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส    มีคูเมือง  2 ชั้น   เลียบขนานกันไปจรดหนองหารหลวง แต่สภาพคูเมืองในปัจจุบันถูกบุกรุกทำลายเปลี่ยนแปลงเป็นถนนและบ้านเรือนราษฏรจนเกือบไม่เหลือหลักฐานไว้ให้ศึกษา
             ในด้านศาสนสถาน   สกลนครมีศาสนาสถานทั้งที่เป็นปราสาท   พระธาตุ   หลักศิลาจารึกหลายแห่ง   แบ่งบอกให้เห็นถึงความเคารพนับถือลัทธิต่าง       เช่น   พุทธศาสนมหายานลัทธิฮินดู (พราหมณ์) แสดงถึงความอิสระเสรีในการนับถือศาสนา   ลัทธิโดยไม่ถูกบับบังคับ
     ศาสนสถานที่สำคัญ     มีดังนี
      ภูถ้ำพระ   บ้านหนองสะไน    อำเภอกุดบาก   เป็นศาสนสถานที่อยู่บนเทือกเขาภูพานต้นน้ำพุงและน้ำอูนมีศิลาจารึกภาษาขอมระบุถึงการมาสร้างวัดในพุทธศาสนา   ในพุทธศตวรรษที่16
       ปราสาทพระธาตภูเพ็ก   บ้านนาหัวบ่ออำเภอพรรณานิคมเป็นศาสนสถานที่สร้างบนภูเขาสูงในภาคอีสานตอนบนเรือนธาตุของปราสาท   ตั้งอยู่บนฐานปัทม์ก่อนข้างสูงพบแท่งศิวลึงค์ จึงสันนิษฐานว่าเป็นโปราณสถานเนื่องใ่นลัทธิไศวนิกายในพุทธศตวรรษที่     16-17 
       พระธาตุเชิงชุม  เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่บ้านเมือง   ภายในองค์พระธาตุสี่เหลี่ยมศิลปะลานช้าง   มีพระสถูปขอมอยู่ภายใน  มีทางเข้าด้านทิศตะวันออก   ซึ่งอยู่ภายในพระอุโบสถ  พบแผ่นศิลาจารึกอักษรขอม  ปลายพุทธศตวรรษที่  16   เขียนข้อความระบุการอุทิศที่ดิน   ข้าทาส  ให้เป็นที่สร้างเทวสถานแห่งนี้
       พระธาตุดุม  เป็นปราสาทอิฐ   มีทับหลังสมัยคลังอยู่ทิศใต้   และพบจารึกข้อความกล่าวถึงพระภิกษุรูปหนึ่งมาบูรณะพระธาตุแห่งนี้
      ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง  เป็นศาสนสถานในคติขอมอย่างชัดเจนทั้งนี้เพราะปรากฏทับหลังเป็นภาพศิวนาฏราชด้านทิศตะวันออกส่วนทับหลังเป็นภาพศิวนาฏราชด้านทิศตะวันออก   ส่วนทับหลังด้านทิศเหนือเป็นพระวิษณุจากลักษณะเครื่องแต่งกายบ่งบอกว่า   โบราณสถานแห่งนี้อยู่ในศิลปะสมัยปาปวน   พุทธศตวรรษที่16
     ปราสาทบ้านพันนา  อำเภอสว่างแดนดิน   รูปแบบปราสาทหลังนี้คล้ายกับอโรคยศาล ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่   7    ซึ่งอาจเป็นศาลาหลังหนึ่งตามเส้นทางจากเมืองหนองหารหลวงไปสู่หนองหารกุมภวาปีไปสู่เวียงจันทร์
     วัดแดนโมกษาวดี    บ้านพานพัฒนา เป็นแหล่งที่พบหลักฐานการทำแท่นรูปเคารพ แกะด้วยหินทรายจำนวนมาก   แท่นรูปเคารพเหล่านี้อาจเป็นแท่นโยนีโธรณะเพื่อบูชาศิวลึงค์   ตามลัทธิไศวนิกาย  หรือปักบูชาเทวรูป   พระพุทธรูปในลัทธิมหายาน
     วัดพุทธไสยาสน์   ภูค้อเขียว  อำเภอวาริชภูมิ   เป็นแหล่งที่พบศิลาจาลึกอักษรขอมโบราณอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่   15-16    สลักไว้ในแผ่นเสมาหิน   ข้อความกล่าวถึงการสร้างหนทางขึ้นในวันเสาร์ขึ้น  8 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรงข้อความดังกล่าวแสดงหลักฐานการมีศาสนสถานในพุทธศาสนานิกาย
มหายาน    บนเทือกเขาภูพานนอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปแกะไม้   สวนหมวกตามแบบขอมมหายานอีก 1 องค์  ในวัดแห่งนี้
         จากหลักฐารด้านศาสนาสถานและศิลาจารึกภาษาขอมทั้ง   2 หลักนี้   ทำให้สรุปได้ว่าอิทธิพลขอมได้เข้ามาสู่สกลนครมานแล้ว   และมีอำนาจทางการเมือง   ทางวัฒนธรรมอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษ   ที่   15-16   โดยเฉพาะพุทธศตวรรษที่   17 เป็นช่วงทีอิทธิพลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7     (พ.ศ. 1724-1761) ได้แผ่ขยายเข้ามาในบริเวณหนองหารหลวงเพื่อเชื่อเส้นทางเสรษฐกิจการเมืองข้าสู่เวียงจันทร์ นอกจากนี้การที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน จึงทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่อง มีการสร้าง
วัดตามเชิงเขา นักโบราณคดีบางคนมีความเห็นว่าโบราณสถานหลายแห่งในสกลนครน่าจะสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7แต่เมื่อสิ้นรัชสมัยพระองค์อำนาจการเสื่อมและวัฒนธรรมแบบขอมก็เสื่อมถอย บางแห่งสร้างไม่แล้วเสร็จ
 ตำนานกำเนิดหนองหารหลวง
         ตามความเชื่อที่ว่าแต่เดิมขอมปกครองเมืองนี้มาก่อน ยังปรกกฏในตำนานนิทานพื้นบ้านเล่าสืบกันมาจนทุกวันนี้คือ ตำนานฟานด่อนหรือเก้งเผือกและนิทานเรื่องกะฮอกด่อน หรือกระรอกเผือก ตำนานฟานด่อนเป็นตำนานที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออุรังคนิทาน เป็นเรื่องอธิบายสาเหตุที่เมืองเก่าซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณท่านางอาบ บ้านท่าศาลา       บ้านน้ำพุ ริมหนองหารถล่มล่มลงในหนองหารและแล้วมีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่บริเวณธาตุเชิงชุมอีกฝั่งหนึ่งของหนองหาร โดยพระยาสุวรรณภิงคารโอรสพญาขอมตำนานเรื่องนี้ ยังมีความสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านอีกหลายแห่งริมหนองหาร จึงทำให้ผู้คนเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง จนถือกันว่า เมื่ออยู่ในหนองหารไม่ควรพูดถึงเรื่องนี้จะได้รับอันตราย เรือจะล่ม ถูกเงือกทำร้าย หรือหาปลาไม่ได้ผล
          ในส่วนนิทานกะฮอกด่อนแม้ว่าจะเป็นการอธิบายการเกิดหนองน้ำขนาดใหญ่ทั่วไปก็ตาม แต่ชาวสกลนครก็เชื่อว่านิทานเรื่องนี้เป็นที่มาของการถล่มทลายหนองหาร ซึ่งเกิดการกระทำของพญานาค
          นอกเหนือจากนี้มีเรื่องเล่าทั้งสองเรื่องข้างต้นแล้วยังมีเรื่องการสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงและพระธาตุภูเพ็กเป็นโบราณสถานสำคัญทั้ง   2   องค์เพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุกล่าวคือ การสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงและพระธาตุภูเพ็กไว้ตอนหนึ่งว่าหลังจากถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าสิ้นสุดลงแล้ว พญาสุวรรณภิงคารและพญาคำแดงเจ้าเมืองหนองหาร และเมืองหนองหารน้อยนรู้ข่าว     จึงสั่งไพร่พลสกัดหินมุกด์ หินแลงมากองไว้เพื่อเตรียมก่อพระเจดีย์บบจุพระธาตุ (ต้นฉบับเรียกอูบมุง)     บนยอดดอยแท่นซึ่งเป็นสถานที่ พระพุทธองค์เคยเสด็จมาประทับในกาลก่อน
          ปรากฏว่าได้เกิดการพนันขึ้น ในหมู่ไพร่พลที่มาก่อเจดีย์ ฝ่ายชายชาวเมืองหนองหารหลวงจะก่อพระเจดีย์ดอนแท่นฝ่ายหญิงจะให้ก่ออีกเจดีย์หนึ่งจนถึงดาวเพ็ก(ดาวพระศุกร์) ขึ้นของคนนั้น ฝ่ายใดก่อเสร็จก่อน เจดีย์นั้นจะได้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ   เมื่อผ่ายหญิงเห็นว่างานของฝ่ายชายใกล้จะสำเร็จลุล่วงจึงออกอุบายพากันแต่งตัวสวยงามออกไปยั่วยวยพวกผู้ชายที่กำลังขนหินให้ละทิ้งหน้าที่และมาช่วยก่อเจดีย์ให้ฝ่ายหญิงจนเสร็จ
            พญาสุวรรณภิงคาร   เมื่อทรงทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว   ก็ทรงกริ้วหญิงชาวเมืองเป็นยิ่งนักถึงกับตรัสว่า   จะทรงลงโทษแก่หญิงทั้งหลาย   พระมหากิสสปสดับดังนั้น   จึงตรัสเทศนาธรรมเตื่อนพญาสุวรรณภิงคารจนได้สติ ไม่ลงโทษฝ่ายหญิ่ง   แต่มหากิสสปเถระนำพระอุรังคธาตุไปประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า   ตามคำสั่งของพระพุทธเจ้า
          บรรดาหญิงทั้งหลายพากันเข้ามาไหว้พระมหากัสสป    อ้อนวอนขอพระอุรังคธาตุไปประดิษฐานยังเจดีย์ที่ก่อเสร็จแล้วพระมหากัสสปเถระจึงให้พระอรหันต์กลับไปนำเถ้าอังคารพระพุทธเจ้ามาพรรจุแทนเจดีย์นี้มีชื่อว่า    "พระธาตุนารายณ์"ปัจจุบันเรียกกันว่า  "ธาตุนรายณ์เจงเวง"ส่วนเจดีย์ของฝ่ายชายเรียกว่า "พระธาตุภูเพ็ก"   มาจนถึงทุกวันนี้
             พระธาตุเชิงชุม   เจ้าภิงคาร   เจ้าคำแดงก็พาญาติวงค์   บ่าวไพร่   ขี่แพข้ามมาตั้งพักพบกำลังโยธาอยู่โพนเมืองริมหนองหารหลวงด้านทิศใต้   เจ้าภิงคาร   เจ้าคำแดงพร้อมด้วยเสนาอำมาตย์   ไปตรวจหาชัยภูมิที่จะตั้งบ้านสร้างเมืองเห็นว่าคูน้ำลอดเชิงชุมเป็นที่ชัยภูมิดีและเป็นที่ประชุมรอยพระพุทธบาทด้วยเจ้าภิงคารจึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่าข้าพเจ้าจะพาครอบครัวมาตั้งบ้านสร้างเมืองขึ้นที่คูน้ำลอดนี้เพื่อปฏิบัติรอยพระพุทธบาทด้วยขอให้เทพยดาผู้มีฤทธิ์จงช่วยอภิบาลบำรุงให้บ้านเมืองวัฒนาถาวรต่อไป
        ในขณะนั้นพระยานาคตัวหนึ่งชื่อว่าสุวรรณนาค   ซึ่งเป็นผู้รักษารอยพระพุทธบาททำฤทธิ์เกล็ดเป็นทองคำผุดขึ้นมาจากพื้นพสุธาดล   อภิเศกให้เจ้าภิงคารเป็นเจ้าเมืองหนองหานหลวง   ให้พระนามว่าพระยาสุวรรณภิงคาร  ก็ได้ราชาภิเศกกับพระนางนารายณ์เจงเวงราชธิดาเจ้าเมืองอิทปัฐนครเป็นเอกมเหสี   พระยาสุวรรณภิงคารได้ครองเมืองโดยสวัสดิภาพ

       ความสำคัญของพระธาตุเชิงชุมตามอุรังคนิทานคือเป็นที่ประชุมรอยพระพุทธบาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว 4 พระองค์ และเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทะเจ้าพุทธโคดมเสด็จปรินิพาน5000 พรรษาแล้วยังจะมีพระศรีอริยเมตไตรย์เจ้าอีกองค์หนึ่งที่ จะมาประทับรอยพระบาทจึงจะหมดภัทรกัปพระธาตุเชิงชุมจึงมีความสำคัญต่อชาวสกลนคร และพุทธศาสนิกชนด้วยประการนี้
          สกลนครสมัยล้านช้าง
        เมื่อสื้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่   7 (พ.ศ. 1761)แล้ว อิทธพลของเขมรในภาค   อีสานก็ค่อย ๆเสื่อมลง  การก่อตัวของอาณาจักรล้านช้างในลุ่มน้ำโขงที่ขยายอำนาจทางการเมืองและการเผยแพร่พุทธศาสนาเถรวาทเข้าแทนืที่อิทธิพลศาสนาฮินดูและพุทธศาสนามหายาน
         แม้ว่าขอมจะเสื่อมอำนาจไปแล้วก็ตามแต่ชุมชนในสกลนครที่เคยรุ่งเรื่องก็ยังมีผู้คนอาศัยอยู่ดงปรากฏหลังฐานศิลาจารึกที่พระธาตุร้าง บริเวรสถานเลี้ยงเด็กก่อนเกณฑ์บ้านท่าแร่   อำเภอพังโคน  จ.ศ. 712  ตรงกับ พ.ศ. 1893   ซึ่งตรงกับปีที่พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ระบุถึงสมณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่เข้ามาสร้างวัด   นับเป็นศิลาจารึกภาษาไทยน้อยเก่าที่สุดในสกลนคร   ชุมชนแหล่ง อื่น ๆก็คงมีผู้คนอยู่ทั่วไป   โดยเฉพาะเมืองหนองหารหลวงต้องมีผู้คนจำนวนมาก จึงปรากฏว่า   เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มมีอำนาจในอาณาจักรล้านช้าง(พ.ศ. 1893-1926) พระองคืได้แผ่อำนาจรวบรวมหัวเมืองลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฝั่ง ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้สำเร็จ ขยายอำนาจมาถึงภูเขาดงพญาเย็นและเทือกเขาเพชรบูรณ์   ตามพงศาวดารลาวระบุชื่อเมืองใหญ่น้อยหลายเมืองที่ทรงยกทัพเข้าตี   เช่น  เมืองร้อยเอ็ด ในจำนวนนี้มีเมืองหนองหารหลวงหรือ   เมืองสกลนครต้องเป็นเมืองใหญ่   จึงต้องปราบปรามให้ขึ้นต่อหลวงพระบางของพระเจ้าฟ้างุ้ม
        ในช่วงพุทธศตวรรษที่  20-23   กษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง  3  พระองค์ได้แพร่อำนาจบารมีทางพุทธศาสนาเข้าสู่ชุมชนภาคอีสาน   บริเวณริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง   พระเจ้าโพธิสารราช  (พ.ศ. 2063- 2093) ได้ทรงสร้างวัดในเขตหนองหารดังปรากฏการระบุชื่อพระเจ้าโพธิสารราชที่ศิลาจาตึกบ้านโพนงามท่าในสมัยพระเจ้าชัยเชษฐาธิราช(พ.ศ. 2093-2114) เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงราชธานีจากหลงพระบางมาเป็นนครเวียงจันทร์   พระองค์เสด็จมาบูรณะพระธาตุพนมแล้วยังเชื่อว่า   พระองค์ยังเสด็จมาบุรณะพระธาตุเชิงชุม  ทรงก่อพระธาตุเจดีย์ทรทรงเหลี่ยมลดชั้นจนมีรูปทรงสวยงามเป็นการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมอยุธยามาใช้ผสมผสานกับสถาปัตกรรมอยุะยามาใช้ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมล้านช้างได้อย่างลงตัว
       ความเจริญของบ้านเมือง
          สกลนครในช่วงนี้คาดว่าต้องมีความมั่นคั่งมากพอสมควรมีชุมชนใหญ่อยู่ตามลำน้ำสงครามเพราะพบหลักฐานการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งประเภทไหขนาดต่าง     มีทรากเตาเผาเรียงรายทั้งสองฟากฝั่งลำน้ำสงครามไม่น้อยกว่า   90  เตา   ตั้งแต่บริเวณบ้านหาดแพง อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม   ไปจนถึงบ้านนาหวาย   อำเภออากาศอำนวย   จังหวัดสกลนคร   เป็นระยะทาง ตามลำน้ำที่คดโค้งราว    90  กิโลเมตร   ภาชนะไหเนื้อแกร่งเหล่านี้นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นไหสำหรับบรรจุกระดูกผู้ตายในพิธีกรรมความเชื่อว่าเป็น ไหสำหรับบรรจุกระดูกผู้ตายในพิธีกรรมความเชื่อการฝังศพครั้งที่    2   ที่ชาวบ้านเรียกว่าไหกระดูกจึงนับว่าบริเวณศรีโคตรบูรณ์ต้องเป็นแหล่งที่
เป็นแหล่งที่เป็นชุมชนใหญ่มีการผลิตไหส่งออกแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายจำนวนมากตั้งแต่ยุคนั้นทั้งนี้โดยการเทียบอายุกับแหล่งผลิตไหที่เมืองศรีสัตนาคใกล้เวียงจันทน์ซึ้งนักโบราณคดีเชื่อว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่    21-22
         ในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมนิกราช   (พ.ศ2180-2237)   เป็นกษัตริย์ที่ส่งพระราชวงศ์ไปปกครองเมืองนครพนม    และขณะเดียวกันก็ทรางส่งสมณะฑูนมาสร้างวัดในเขตเมืองหนองหาร   ดังปรากฏในศิลาจารึกวัดมหาพรหมเทโวโพธิราชทรงสร้างเมืองเชียงใหม่หนองหารคามเขต   และกัลปนาที่ดินพร้อมข้าทาส   ใน  พ.ศ.  2179     โดยอุทิศแด่พระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช
         จากหลักฐานศิลาจารึกอีกหลายหลักฐานที่พบในสกลนคร   เช่น    ศิลาจารึกไชยอารามอำเภอสว่างแดนดิน   พ.ศ. 2167  ศิลาจารึกบ้านแร่   อำเภอพังโคน  พ.ศ. 2203     ศิลาจารึกถ้ำอาจารย์พา       ดอนอ่างกุ้ง   อำเภอโคกศรีสุพรรณ  พ.ศ.  2443   หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกถึงความเจริญของชุมชนเหล่านี้ที่พัฒนาเป็นชุมชนขนาดใหญ่   มีการสร้างวัดวาอารามซึ่งเชื่อว่าเป็นชุมชน
ของกลุ่มคนที่เคลื่อนย้ายมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงนั่นเอง
          การเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนจากอาณาจักรล้านช้างเข้ามาอยู่ในชุมชนหมุ่บ้าน   เพื่อหลีกราชภัยภัยปรากฏขึ้นในช่วงศตวรรษที่    23 -24   ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภายในราชสำนักเวียงจันทน์   ในสมัยสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช   (พ.ศ. 2181-2238)  และพระเจ้าสิริ-บุญสาร (พ.ศ.2203-2031)ทำให้เกิดคนหลายกลุ่มที่ไม่พอใจเกิดความขัดแย้งภายในราชสำนักอาพยพเข้าสู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง

         กลุ่มพระวอ  พระตา  เป็นบุคคลในตำแหน่งเสนาบดีนครเวียงจันทน์ เกิดความขัดแย้งกับเจ้าศิริบุญสาร จึงได้นำไพร่พลญาติพี่น้องและพรรคพวกหลายคน   เช่น  หลวงราชโภชไนย   ท้าวคำสู  ท้าวคำสิงห์   ท้าวเชียงและท้าวนาม    มาอยู่ที่บ้านหินโงม   ซึ่งอยู่ในเขตตัวเมืองหนองคายในปัจจุบัน   แต่ด้วยเกรงว่ากรองทับพระเจ้าสิริบุญสารจะยกมาโจมตีได้ง่ายจึงพากันแยกย้ายออกไปหาแหล่งที่มีความอุดมสมบุรณ์ที่จะทำนาปลูกข้าวไว้เป็นเสบียงอาหาร   และมีชัยภูมิในการป้องกันตัวเอง   ในจำนวนนี้มีหมู่บ้านในเขตสกลนครที่กลุ่มสมัครพรรคพวกพระวอ   พระตา    เลือกที่ตั้งหมู่บ้านชุมชน
        ส่วนกลุ่มของหลวงราชโภชนัย ได้มุ่งเดินไปทางทิศตะวันออก   เมื่อเดินทางไปได้ 5 วัน   พบชัยภูมิแห่งหนึ่งในกลุ่มแม่น้ำสงครามอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด   เช่น  กุ้งหอย ปู    เต่าเหมาะแก่การตั้งเป็นบ้านเป็นเมือง จึงขอตั้งเมืองที่บ้านผ้าขาวพันนา   ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอพังโคน
ในปัจจุบัน
        กลุ่มเจ้าผ้าขาว - โสมพะมิต  เจ้าผ้าขาวเป็นข้าราชการในราชสำนักเวียงจันทน์ได้ผิดใจกับโอราสเจ้าสิริบุญสารที่ผิดประเวณีหลานเจ้าผ้าขาว   จึงพาไพร่พลอพยพข้ามแม่น้ำโขง    ลงมาทางใต้   ยึดหมู่บ้านแห่งหนึ่งเป็นที่มั่น   ต่อมาเรียกบ้านพรรณา       บ้านผ้าขาว   (ซึ่งอยู่ในอำเภอพรรณานิคม
ในปัจจุบัน)จนหลานสาวที่มีครรภ์คลอดบุตรชายให้ชื่อว่าเจ้าโสมพะมิต   ต่อมาเมื่อเจ้าผ้าขาวสิ้นชีวิตเจ้าโสมพะมิตได้   ปกครองข่าวไพร่แทนไพร่พลเจ้าโสมพระมิตบางส่วนได้แยกย้ายกันไปอยู่ในบริเวณพระธาตุเชิงชุมมาช้านาน
       ในเวลาต่อมาเจ้าโสมพะมิตเห็นว่า   เจาสสิริบุญสารได้สั่งให้กองกำลังเวียงจันทน์ออกติดตามกลุ่มพระวอ   พระตา   จึงได้พาไพร่พลออกเดินทางไปตั้งอยู่บริเวณลำน้ำก่ำใกล้เมืองที่บ้านกลางหมื่นประมาณ   2  ปี    แล้วย้ายไปตั้งที่บ้านดงสงเปือย      ตั้งเป็นเมืองกาฬสินธุ์  ขอความคุ้มครองจากราชสำนักที่กรุงเทพ
        การขยายอิทธิพลของกรุงเทพฯ   เข้าสู่  อีสานและสกลนคร          
         เมื่อกรุงศรีอยุธยามีอำนาจในที่ราบลุ่มตอนกลางของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น   ยังไม่มีบทบาททางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือปกครอง        ชุมชนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนมากนักต่อมาในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี   ทรงมีนโยบายขยายอำนาจออกไปให้กว้างขวางมากที่สุดเพื่อกวาดล้างอิทธิพลของพม่า   ทรงขยายดินแดนเป็นแนวโค้งออกไปโดยรอบนับแต่หัวเมืองตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือ   มาจรดหัวเมืองตามลุ่มแม่น้ำโขงตอนเหนือ   มาจรดหัวเมืองตามลุ่มแม่น้ำโขงตอนเหนือ    พระองค์ส่งกองทัพไปปราบเวียงจันทน์เมื่อเกิดกรณีที่เจ้านครเวียงจันทน์ยกกองทัพมาตีกองทัพของพระวอ   พระตา  ในราชอาณาเขต
       หลังจากที่กองทัพของเจ้าพระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ได้ตีเมืองเวียงจันทน์แตกใน พ.ศ. 2321ท้าวมหาแพงบุตรเจ้าอุปชา    ซึ่งทำหน้าที่เป็นอุปฮาดว่าราชการแทนเจ้าเมืองได้ถูกราชการสำนักเวียงจันทร์จับตัวไปทรมานข่มขู่    ให้อ่อนน้อยต่อเวียงจันทร์   ทางเมืองกาฬสินธุ์   ท้าวโสมพะมิตจึงทราบทูลให้ราชสำนักกรุงเทพฯ ทราบและขอให้ช่วยเหลือท้าวหมาแพง   จนได้รับการปล่อยตัวออกมาในรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงแต่งตั้งให้ท้าวหมาแพงเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ทำให้ท้าวหมาป้องท้าวหมาฟองบุตท้าวโสมพะมิต (พระไชยานุชิต)ไม่พอใจจึงคบดิดกับพระยาบ้านเว่อ   พาไพร่พลออกจากเมืองกาฬสินธุ์พร้อมด้วยพระภิกษุหลักค้ำซึ่งเป็นที่นับถือกลับมาตั้งบ้านเรือนที่หน้าวัดพระธาตุเชิงชุม   ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดเกล้าฯให้พระยาบ้านเว่อเป็นเจ้าเมืองสกลทวาปี   มีตำแหน่งพระธานี   ท้าวหมาป้องเป็นอุปราชท้าวหมาฟองเป็นราชวงศ์
        เมืองสกลทวาปี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่บ้านธาตุเชิงชุม   ปกครองโดยกลุ่มบุตรหลานเจ้าโสมพะมิตที่แยกตัวออกมาจาก   เมืองกาฬสินธุ์สืบมาจนถึง  พ.ศ.   2369    เมื่อเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏต่อราชสำนักที่กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   จึงโปรด ฯ   ให้กรมพระราชวังบวร   เป็นแม่ทัพหน้ายกไปตีเวียงจันทร์และตีเมืองเวียงจันทน์แตกในเดือนพฤษภาคม      พ.ศ.   2370 อย่างง่ายดาย   เพราะเจ้าอนุวงศ์ได้หลบหนีจากศึกที่หนองบัวลำพู   ไปอาศัยเมืองมหาชัยกองแก้วและเมืองแง่อานของญวน   กองทัพไทยได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองเวียงจันทน์   มาเป็นจำนวนมาก
          เมื่อกองทัพไทยได้กลับถึงกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพิจารณาว่าสภาพของเมืองเวียงจันทน์ยังดีอยู่หากปล่อยให้ไม่ทำลายเสีย ถ้าเจ้าอนุวงศ์จะมารวบรวมผู้คนได้อีกทั้งยังทรงเกรงว่าจะมีปัญหา   ถ้าเจ้าอนุวงศ์ยกเมืองต่าง      ให้อยู่ในการคุ้มครองของญวนแล้ว   จึงโปรดเกล้า ฯ    ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี   ยกกองทัพหลวงออกจากกรุงเทพ ฯ    เมื่อพ.ศ. 2371
ไปเกณฑ์ไพร่พลที่หัวเมือง   แล้วให้เจ้าเหล่านี้คุมทัพเป็นกองหน้ายกไปตีเมือง   แล้วให้เจ้าเหล่านี้คุมทัพเป็นกองหน้ายกไปตีเมืองเวียงจันทนส่วนเจ้าพระยาราชสุภาวดีจะไปรวมพลที่เมืองภูเขียวและหนองบัวลำพู
         การสงครามครั้งนั้น   กองทัพหน้าของไทยถูกกลลวงของญวนและเวียงจันทน์ใล่ตีพ่ายแพ้หลบหนีเสียไพร่พลเป็นจำนวนมากพระยาราชสุภาวดีจึงต้องพักรวบรวมไพร่พลต่อไปที่เมืองยโสธร   ประมาณ  2 เดือน   เข้ายึดและทำลายเมืองเวียงจันทน์อย่างย่อยยับ   ใน  วันที่   19  ตุลาคม  พ.ศ.   2371  แล้วจึงยกกองทัพกลับกรุงเทพฯ พระยาราชสุภาวดีได้รับพระราชทานยศเป็น
เจ้าพระยาบดินทร์เดชา
        การเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์   และการปราบปรามการทำลายเวียงจันทรน์ครั้งนั้น  มีผลต่อเจ้าเมืองสกลนครอย่างยิ่งกล่าวคือเมื่อครั้งที่กองทัพเจ้าอุปราชดิสสะยกกองทัพผ่านเมืองสกลทวาปีไปตีเมืองกาฬสินธุ์   เจ้าเมืองก็มิได้ขัดขวาง   พอเจ้าอุปราชดิสสะยกกองทัพมาก็แวะพักที่เมืองแห่งนี้อีก   แต่พอพระธานีเจ้าเมืองทราบว่ากรมพระราชวังบวรยกกองทัพตีเวียงจันทน์แตก   แล้วจึงยกทัพไปสวามิภักดิ์ที่บ้านพานพร้าว ในเวลานั้นกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีแม่ทัพฝ่ายตะวันออกได้เมืองยโสธร   เมืองอุบล  เมืองจำปาศักดิ์   แล้วเลยขึ้นมาเมืองมุกดาหารและจัดทัพที่เมืองนครพนม   พระธานีมิได้เตรียมกำลังไพร่พลกระสุนดินดำตลอดจนเสบียงอาหารให้กองทัพจึงมีความผิดฐานเป็นกบฏถูกจับไปประหานชีวิตที่บ้านหนองทรายขาว   แล้วกวาดต้อนผู้คนไปไว้ที่เมืองกบิลประจันตคามเหลือไว้พอรักษาพระธาตุเท่านั้น   เมืองสกลทวาปีจึงร้างมาชั่วระยะหนึ่ง
       หมู่บ้านและการยกเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่   3 และรัชกาลที่ 4
          หลังจากการทำลายเวียงจันทน์และกวาดต้อนผู้คนไปสู่เมืองต่าง      ตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นส่วนใหญ่แล้วปัญหาทางการเมืองระหว่างราชสำนักและเวียงจันทน์ก็หาสิ้นสุดไม่ทั้งนี้เพราะในเวลาอีก   5   ปีต่อมาระหว่าง  พ.ศ.  2376-2388   ไทยและญวนเริ่มสงครามแย่งชิงอิทธิพลในดินแดนเขมรเพื่อเป็นการตัดกำลังมิให้ฝ่ายญวนได้ประโยชน์จากผู้คนในหัวเมืองฝ่ายซ้าย
กองททัพไทยจึงได้เริ่มสงคราม   แย่งชิงอิทธิพลในดินแดนเขมร   เพื่อเป้นการจัดกำลังมิให้ฝ่ายญวนได้ประโยชน์จากผู้คนในหัวเมืองฝ่ายซ้าย   กองทัพไทยจึงได้เริ่มสงครามเพื่อการกวาดต้อนผู้คนจากเมืองต่าง ๆ ทางฝั่งซ้ายให้ไกลออกไปจนจรดแดนญวน   หรือเกลี้ยกล่อมให้เจ้าเมืองยอมรับถวายความภักดีต่อกษัตริย์ไทย
          ใน พ.ศ. 2385  ราชวงศ์อิน       เป็นชาวมหาชัยกองแก้ว       น้องชายพระยาประเทศธานีเจ้าเมืองสกลนครคนแรก     ที่อพยพมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว สวามิภักดิ์ต่อกองทัพไทยได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เกลี้ยกล่อม   ราชวงศ์เป็นผู้ที่คุ้นเคยของกลุ่มเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ   ทางฝั่งซ้ายเป็นอย่างดี ต้องใช้การพูดจาหว่านล้อมชี้แจงแะลยังให้ความหวังรับรองว่า เมื่อพาไพร่พลจำนวนมาก็อพยพมาแล้ว   จะได้รับการอพยพผู้คนมาจากเมืองต่าง ๆ เข้ามาสู่เมืองสกลนครเป็นอันมาก
            เป็นที่สังเกตว่า   กลุ่มผู้คนที่อพยพมาจากเมืองต่าง     ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงนี้มีภาษาพูดแตกต่างกันออกไปมิใช่เป็นกลุ่มชาวลาว   กลุ่มคนเหล่านี้จึงมีชื่อเรียกพวกของจน   เช่น  ผู้ไทย  ข่า  กระโซ่   ญ้อและกะเลิง   ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะบางกลุ่มที่อพยพจากเมืองต่าง ๆ เป็นจำนวนมากจนเข้ามาตั้งเป้นหมู่บ้านและได้รับการยกขึ้นเป็นเมืองดังต่อไปนี้
            1.   กลุ่มผู้ไทย   เมืองพรรณานิคม
          ได้อพยพมาจากเมืองวัง โดยมีท้าวโฮงกลางเป็นหัวหน้าตั้งบ้านที่บ้านปะขาว   บ้านพันนา   ต่อมาได้ย้ายมาอยู่บ้านพันพร้าวหรือพรรณานิคม   ท้าวโฮงกลางได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระเสนาณรงค์   ตำแหน่งเจ้าเมือง  เมื่อ  พ.ศ. 2387
           2.   กลุ่มผู้ไทย   เมืองวาริชภูมิ
           เป็นกลุ่มผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปองในเขตเมืองเซโปนในปัจจุบัน  โดยมีท้าวราชนิกูลแต่ได้อพยพเข้ามานานแล้ว ได้พาบ่าวไพร่ประมาณ  2000 คน   เข้ามาสู่เมืองสกลนคร   แต่เจ้าเมืองไม่ยอมให้ไปตั้งเมือง   จึงได้นำไพร่พบหนีออกไปอยู่ที่บ้านหนองคายและพึ่งเจ้าเมืองหนองหาน(อุดรธานี)
ในการทูลขอยกบ้านหนองหอยขึ้นเป็นเมืองวาริชภูมิ
          3.  กลุ่มผู้ไทย    เมืองจำปาชนบท
          เป็นกลุ่มผู้ไทยที่มาจากเมืองกะปอง   เช่นเดียวกับกลุ่มวาริชภูมินำโดยท้าวแก้วได้รับอนุญาตให้อพยพผู้คนไปตั้งอยู่ที่บ้านนาเหมืองและบ้านพังโคน   และได้รับพระราชทานพรรดาศักดิ์ให้เป็นพระบำรุงประชาราษฏร์เจ้าเมืองจำปาชนบทใน   พ.ศ. 2501
          4.  กลุ่มชาวกระโซ่   เมืองกุสุมาลย์
        เป็นกลุ่มที่อพยพมาจาจเมืองมหาชัย(ปัจจุบันอยู่แขวงท่าแขก)มีเพี้ยเมืองสูงและบุตรโคตรเป็นหัวหน้า ในพ.ศ.2387  โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเพี้ยเมืองสูงเป็นกลวงอรัญอาสายกบ้านกุสุมาลย์มณฑลขึ้นเป็นเมือง
         5. กลุ่มพวกโย้ยเมืองอากาศอำนวย
         พวกโย้ยอพยพมาจากเมืองหอมท้าว   มีท้าวติวซอยเป็นหัวหน้า   พร้อมด้วยท้าวศรีสุราช ท้าวจันทนาม  ท้าวนามโคตร ไปตั้งบ้านอยู่ที่บ้านม่วงริมห้วยยาม   มีพลเมืองที่อพยพถึง  2339  คน โปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านม่วงขึ้นเป็นเมองอากาศอำนวย   ขึ้นเมืองนครพนม  เมื่อ พ.ศ. 2390   ตั้งให้ท้าวศรีสุราชเป็นหลวงผลานุกุลเจ้าเมือง    ต่อมาเมืองนี้ได้โอนมาขึ้นต่อสกลนครในรัชสมัยะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
        6.  กลุ่มพวกโย้ยเมืองวานรนิวาส
         เป็นกลุ่มที่ติดตามพระสุนทรราชวงศาไปอยู่ที่เมืองยโสธรใน   พ.ศ.  2396   โดยมีจารย์โสมเป็นหัวหน้า      เจ้าเมืองยโสธรได้ให้พวกนี้ตั้งอยู่บ้านกุดลิงในท้องที่อำเภอเสลภูมิ ใน    พ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ยกบ้านกุดลิงให้เป็นเมือง   ในเวลาต่อมาพวกไทยโย้ยได้อพยพ
อยู่ที่บ้านกุดแฮ่ชุมภู(ต. แร่  อ.พังโคน)และได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านชุมแสงหัวนาซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองวานรนิวาสในปัจจุบัน
           7.   กลุ่มนี้มีท้าวเทกัลยา   เป็นหัวหน้าอพยพมาจากเมืองภูวาใกล้เมืองมหาชัยกองแก้ว   ได้รับอนุญาตจากเจ้าเมืองสกลนครให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านโพธิ์ สว่างริมห้วยปลาหางครั้นถึง พ.ศ. 2506   ท้าวเทพกัลยาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ประสิทธิ์เจ้าเมือง ต่อมาได้มีการย้ายไปตั้งที่เดื่อศรีคันชัยริมแม่น้ำยามและได้   ย้ายไปตั้งที่บ้านหันใหล้ที่ตั้ง อำเภอ  สว่างแดนดินในปัจจุบัน
           นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพวกกะเลิงที่อพยพมาจากเมืองภูวานากระแด้ง พวกย้ออพยพมาจากเมืองภุวานากระแด้งพวกย้ออพยพมาจากเมืองคำเกิดคำม่วน แต่กระจายเข้าปะปนกับกลุ่มอื่น ๆ ไม่อาจตั้งเป็นชุมชนขนาดใหญ่พอที่จะตั้งเมืองได้
ลักษณะการปกครอง 
    ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา   มีการกวาดต้อนและเกลี้ยกล่อมผู้คนจากเมืองต่าง        ทางฝั่งซ้ายมาตั้งเป็นเมืองขึ้นอีกหลายเมืองแต่กล่าวโดยสรุปแล้วผู้คนในดินแดนภาคอีสานในสมัยนั้น   ล้วนมีวัฒนธรรมในด้านชีวิตความเป็นอยู่ความเชื่อภาษาพูดคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่
          อาจกล่าวได้ว่า   กลุ่มอุปฮาด   ราชวงศ์ที่เข้ามาสวามิภักดิ์   และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสกลนครเมื่อ     พ.ศ.  2381     เป็นกลุ่มที่สำคัญและมีบทบาททางการเมืองของเมืองมหาชัยกองแก้วซึ่งเป็นญาติเกี่ยวดองกับเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทร์ประกอบกับอุปฮาด   ราชวงศ์ต่าง ๆ มีความรู้แบบแผนขนบธรรมเนียมการปกครองแบบธรรมเนียมเดิม   ตลอดจนการตัด
สินคดีความก็มอบให้เป็นหัวหน้าที่ของเจ้าเมือง   กรมการเมือง   ว่ากล่าวตักเตือนถ้าเป็นคดีความที่ต้องตัดสินถือว่าเป็นหน้าที่ของเมืองแสนและเมืองจันคล้ายเป็นศาลชั้นต้นส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินในศาลชั้นสูงขอเจ้าสุริยะเจ้าสุริโยเจ้าโพธิสารซึ่งจะมีข้าราชการตำแหน่งดังกล่าวนี้เฉพาะเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น
           ลักษณะการปกครองตามแบบลาวตำแหน่งที่สำคัญคือ   อาญาสี่หรือมี  4 ตำแหน่งและมีลักษณะพิเศษ  2   ประการคือ   เป็นตำแหน่งที่สามารถเลื่อนขึ้นไปถึงชั้นสูงสุดได้และอีกประการหนึ่งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งมักจะมีเชื้อสายเกี่ยวกันกับเมืองทางฝั่งซ้ายประกอบ
           1.   ตำแหน่งเจ้าเมือง
            เจ้าเมืองใหญ่     มีความดีความชอบมีฐานะเป็นพระยาเจ้าเมืองแรกของสกลนครคือ   พระประเทศธานี   ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสกลนครระหว่าง   พ.ศ. 2381-2419   อำนาจหน้าที่ของเจ้าเมืองคือ   การอำนาจสิทธิขาดในการสั่งข้าราชการบ้านเมืองทั้งปวง ที่เกิดขึ้นในเคว้นเมืองนั้น
         2. ตำแหน่งอุปฮาดหรืออุปราช
            เป็นผู้ทำงานแทนเมื่อเจ้าเมืองป่วยหรือมิกิจโดยทั่วไปเจ้าเมืองถึงแก่กรรม   หรือมีเหตุต้องโทษทัณฑ์หรือแก่ชราขณะที่ทางกรุงเทพฯ   ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ   แต่งตั้งผุ้ใดมาดำรงตำแหน่งอุปฮาดต้องรับหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนส่วนหน้าที่ประจำของอุปฮาดคือ   เป็นหน้าที่ในการให้คำปรึกษาหารือแก่กรมการตำแหน่งรองลงมา
         3.   ตำแหน่งราชวงศ์
        แปลว่าเชื้อแถวหรือญาติของเจ้าเมืองนั้นหน้าที่ปกติของราชวงศ์คือ   การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีความ ร่วมกันดัดสินคดีกับเจ้าเมือง   นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตามคำสั่งของอุปฮาด   ในกรณีที่อุปฮาดขึ้นรักษาการแทนเจ้าเมือง   ราชวงศ์ก็ทำหน้าที่แทนอุปฮาด
        4.   ตำแหน่งราชบุตร
        คำว่าราชบุตร   หมายถึง   บุตรเจ้าเมืองแต่ในการดำรงตำแหน่งราชวงศ์ราชบุตรมิใช่จะต้องเป็นบุตรหลานเจ้าเมืองเสมอไปหากผู้ใดได้ทำความดีความชอบในราชการมากเจ้าเมืองอาจเสนอชื่อโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นราชบุตร ราชวงศ์ได้
          สำหรับการปรครองในระดับหมู่บ้านก็มีข้าราชการตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ท้าวฝ่าย ตาแสง พ่อบ้านจ่าบ้าน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลบริหารระดับหมู่บ้านให้สอดคล้องกับฝ่ายกรมการเมืองการแต่งตั้งให้ไพร่พล ที่มีความรู้ความสามารถดำรงตำแหน่วงต่าง ๆ เจ้าเมือง กรมการเมืองมิอาจกระทำได้ ยกเว้นแต่ตำแหน่งกรมการเมืองระดับอาญาสี่ ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญ ถ้าเป็นเมืองบริวารต้องรายงานให้เจ้าเมืองทราบเพื่อเจ้าเมืองจะได้กราบทูลไห้ราชสำนักทราบและขอแต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าสู่ตำแหน่งนั้น ๆ สืบไป การปฏิบัติเช่นนี้แม้เมืองที่ขึ้นตรงต่าอราชสำนักก็ตามต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน
        ความสัมพันธ์ระห่วางเมืองต่าง ๆ และราชสำนักที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือการสักเลก คำว่า "เลก" หรือเลข หมายถึงชายฉกรรจ์ ซึ่งแต่เดิมถือว่ามีความสูง 2 ศอก คือ หรือตั้งวแต่ 150 ซ.ม. ขึ้นไป จนถึงอายุ 70ปีบุคลเหล่านี้ต้องสักเลกทำโดยการใช้เหล็กแหลมแทงตามเส้นหมึกที่เขียนไว้ ทำให้ผิวหนัง
เป็นรอยคล้ายเป็นตัวอักษรบอกชื่อเมืองชื่อมูลนายต้นสังกัดไว้ที่ข้อมือด้านหน้า หรือด้านหลัง เป็นวิธีการควบคุมไพร่พลเป็นหมวดหมู่ในมูลนายรับผิดชอบ ประโยชน์ของการสักเลกยังครอบคลุมไปถึงการควบคุมแรงงานเพื่อใช้ยามสงบ และการควบคุมส่วย สิ่งของเงินทอง เพื่อใช้ในราชการอีกด้วย
             ในหัวเมืองลาว การสักเลกเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2367 โดยพระสุริยภักดี (ป้อม) กับ หลวงศรีสุนทร เป็นข้าหลวงกองสักเลกลงมาจากกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2402 - 2407 ไหด้มีการตังกองสักที่เมืองยโสธรและยังกระจายกองสักไปยังหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อสำรวจไพรพลให้ได้นจำนวนแน่นอน ในครั้งนั้น สกลนครได้เกณฑ์ผู้คนลงไปสักจำนวน 5,000 คน อย่างไรก็ตามในทางหน้าที่ของเจ้าเมืองกรมการเมืองจะมีการทำหน้าที่นำไพร่พลที่ เป็นยชายฉกรรจ์ลงไปสักเลกที่กรุง่เทพฯ เมื่อมีจำนวนมากพอสมควร
              การสักเลกมีความสัมพันธ์กับการเก็บส่วย ซึ่งทางส่วนกลางจะกำหนดจำนวนตัวเลยที่จะตองเสียส่วยไว้สัมพันธ์กับยอดของเลก   จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าเมืองกรมการเมืองที่ต้องรวบรวมจำนวนผู้คนทุกรุ่นทุกวัยตลอดตนพาหนะสัตว์เลี้ยงแจ้งให้ราชการทราบการสักเลกที่ข้อมือในภาคอีสานได้ยุติเมื่อ พ.ศ. 2442โดยกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
           การเก็บส่วย ส่วยเป็นการเก็บภาษีอย่างหนึ่ง ที่ราชสำนักเป็นผู้กำหนดอัตราและเวลาเก็บให้หัวเมืองปฏิบัติตามลักษณะของส่วยในหัวเมืองอีสาน ในระยะแรกมีการเก็บส่วยเป็นสิ่งของที่มีอยู่ในท้องถิ่นเช่น ทอง เงิน ขี้ผึ้ง ผลเร่ว ผ้าขาว ป่าน น้ำรัก ทั้งนี้แล้วแต่ในเมืองนั้นจะอุดมสมบูรณ์ ด้วยสิ่งใด
            ในกรณีของเมืองสกลนคร ตั้งแต่ได้ตั้งเมืองสกลนครเมื่อ พ.ศ.  2381 ก็ได้กำหนดการเสียส่วยเป็นผลเร่ว   เมืองพรรณานิคมนั้นมีหลักฐานว่าเสียส่วยเป็นทองคำ
            การเก็บส่วยจากหัวเมืองลาวหากพิจารณาจากใบบอกแล้ว      จะเห็นว่ามีการค้างกันมาก ทั้งนี้เป็นเพราะความฝือเคืองในการหาส่วยและเงินท่องอย่างไรก็ตามใน   พ.ศ. 2397  ทางกรุงเทพ ฯ มีความต้องการสัตว์พาหนะมากขึ้น หัวเมืองลาวตะวันออกได้ส่งควายเป็นส่วยแทนผลเร่วหรือสิ่งของอื่น ๆ ในกรณีเมืองสกลนคร มีข้อมูลใน พ.ศ. ว่าได้ส่งควายไปแทนผลเร่วถึง       150     ตัว เมืองกุสุมาลย์ส่งควายแทนผลเร่วเช่นเดียวกัน 50 ตัวสิ่งนี้เป็นพัฒนาการของการส่งส่วย
สกลนครสมัยปฏิรูปการปรครองระบบมณฑลเทศาภิบาล
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคสำคัญที่กรุงเทพฯ ได้ส่งข้าราชการระดัลบสูงเข้าามาบริหารหัวเมืองในภาคอีสานให้กระชับมากขึ้น ใน พ.ศ. 2435ทรงจัดรูปแการปกครองหัวเมืองอีสานใหม่ โดย รวบรวมเอาหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา จัดเป็นกลุ่มรวมกันเป็น 4 กองใหญ่ โปรดให้มีข้าหลวงใหญ่กำกับกองละ   1 คน สกลนครถูกรวมอยู่ในหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือมีพระยาสุรเดชวิเศษฤทธเป็นข้าหลวงใหญ่ตั้งกองอยู่เมืองหนองคายแต่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบทั้งหมดของพระยามหาอำมาตย์ที่นครจำปาศักดิ์ การจัดระบบการปกครองดังกล่าว ยังไม่เป็นที่พอพระทัย   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจายาเธอ     3     พระองค์       เสด็จไปเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวตะวันออก   พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม   ดำรงตำแหน่งใหญ่ประจำหัวเมืองลาวพวน ประจำอยู่ที่หนองคาย
                   อาจกล่าวได้ว่า   ผลจากการที่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เสด็จมาเป็นข้าหลวงที่มณฑลฝ่ายเหนือใน พ.ศ. 2434 นับว่าเป็นช่วง ที่มีการปรับปรุงการปกครองจากแบบเดิมเข้าสู่รูปแบบใหม่อย่างกว้างขวางกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม   ทรงมีอำนาจบังคับปกครองเมืองใหญ่ ๆ  16 เมือง ลาวฝ่ายเหนือทรงมีอำนาจสุงสุดในฐานะข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑล
         นับตั้งแต่  พ.ศ. 2434  เป็นต้นไปศุนย์กลางอำนาจทางการเมืองการปกครองจากกรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนมาอยู่ที่เมืองหนองคายและเมืองอุดร ในเวลาต่อมาบรรดาเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นต่อมณฑลลาวพวนหรือหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ   ตกอยู่ในความควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดอีกทั้งเจ้าเมืองกรมการเมือง   จะต้องขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งกรมการเมืองจากหมื่นประจักษ์ศิลปาคม   ก่อนที่จะมีใบบอกไปยังราชสำนัก
         การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและนำไปสู่การลดอำนาจเจ้าเมืองที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ   การส่งข้าหลวงจากส่วนกลางออกไปคุมเจ้าเมืองอีกชั้นหนึ่ง   เพื่อให้การจัดเก็บภาษีสุราตามเมืองต่าง ๆ ได้ผลการ คัด เลือกข้าหลวงรุ่นแรกที่กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงคัดไว้มีจำนวน   11 คน โดย มีอำนาจหน้าที่ในการจัดอากรสุราจัดเก็บภาษีต่าง ๆ ตัดสินแก้ไขปัญหาความยุ่งยากที่เกี่ยวกับเขตเมืองประสานและเป็นตัวกลางในการจัดต่อระหว่างหัวเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองกับข้าหลวงใหญ่   และนำนโยบายของกรมหมื่นประจักษืศิลปคมมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่
        ในปี  พ.ศ. 2437  ได้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล   ให้เรียกกลุ่มเมืองเป็นมณฑลลาวพวนภายใต้การบังคับบัญชาสูงสุดของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น   ประจักษ์ศิลปาคมประกอบด้วยเมืองอุดรธานี ขอนแก่น นครพนม สกลนคร  เลย   หนองคาย   และย้ายกองบัญชาการมาตั้งที่เมื่องอุดรธานี
       เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งคือ   การปรับปรุงให้มีคุณวุฒิเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่อย่างไรดี   แม้ว่าทางส่วนกลางจะมีนโยบายให้ข้าราชการตามหัวเมือง   มีความรู้ในระเบียบงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบอยู่ ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายนัก ทั้งนี้เพราะยังมีข้าราชการจากหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลไม่เพียงพอ   การสำรวจคุณวุฒิกรมการเมืองดังกล่าว ได้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ 2437 โดยกรมหมืนประจักษ์ศิลปาคมได้มีใบบอกแจ้งให้พระยาประจันตประเทศธานีให้ข้าหลวงผู้ว่าราชการรับทำคุณวุฒิส่งไปยังสำนักข้าหลวงใหญ่  ณ บ้านหมากแข้ง  ในวันที่ 20 พฤศจิกายนต์  ร.ศ 113   การปรับปรุง
คุณวุฒิข้าราชการตามหัวเมือง   เพื่อที่จะนำระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์เข้ามาใช้   สำหรับเมืองสกลนครได้จัดรูปแบบจตุสดมภ์ใน   พ.ศ 2437 ร.ศ 113 ดังนี้
       กรมเมือง         ให้ท้าวขัติยะ(คลี่)บุตรราชวงศ์   เป็นพระบุรี บริรักษ์
       กรมวัง          ให้ท้าวสายคพหลานพระยาประเทศะานี เป็นพระพิทักษ์ฐานกิจ
       กรมคลัง        ให้ท้าวนำบุตรอุปฮาด (โถคง)เป็นพระวอสิทธิ์นานุกูล
      กรมนา         ให้ท้าวอุปฮาด(โถง)    เป็นสมบูรณ์พืชภูมิ
        นอกจากนี้ยังกำหนด หน้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ เช่น เมืองแสนเมืองจัน แต่ก่อนเคยออกหนังสือรับรองคำสั่งเจ้าเมืองในการบังคับบัญชาปกครองเมืองขึ้น   ให้เมืองแสนเมืองจั่นเปลี่ยนมาเป็นมหาดไทยเมือง รับคำสั่งเจ้าเมืองทางฝ่ายธุรการ ใต้ตอบไปมาในการบังคับบัญชาหัวเมือง ซึ่งขึ้นอยู่กับความปกครองเมืองสกลนคร
        อุปฮาด  ราชวงศ์ ราชบุตร  ผู้ช่วยให้รวมกันเรียกว่า กองยุติธรรม คอยชำระความอุทธรณ์ที่ราษฏรกล่าวโทษกรมการต่าง ๆ
       เจ้าเมือง   คอยชำระความอุทธรณ์ราษฏรกล่าว   โทษยุติธรรม เจ้าเมืองจะชำระตัดสินคดีอุทธรณ์ชั้นนี้ให้ประชุมกรรมการ    3 นายลงความเห็นชอบด้วย   จึงเป็นคำตัดสินเด็ดขาดได้
     ข้าหลวง   เป็นผู้แนะนำข้าราชการทั่วไปทุกกรม   ทุกกอง
       สำหรับเมืองขึ้นต่าง ๆ ของสกลนครก็ให้อนุโลมจัดระเบียบเหมือนอย่างเมืองสกลนคร
       ใน พ.ศ.2440 ได้ออก พรบ. การปกครองท้องที่ รศ. 116เพื่อใช้เป็นแบบแผนการปกครองเหมือนกันทุกมณฑลโดยแบ่งส่วนการปกครองออกเป็น   อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับของอำเภออื่น ๆ
     ใน พ.ศ. 2442 ได้ออก พรบ. ศักดินาเจ้านาย  เจ้าพระยา พระยา ท้าวแสน  เมือง ประเทศราช รศ.118 ซึ่งเทียบกับตำแหน่งศักดินาพลเรียนในกรุงเทพฯ ในปีนี้ยังโปรดให้เปลี่ยนเชื่อมณพล ในภาคอีสานใหม่ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดรเรียกชื่อว่ามณฑลฝ่ายเหนือ   ส่วนการจัดการปกครองเป็นหน้าที่ของข้าหลวงต่างพระองค์
        การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองครั้งสำคัญ
         การเปลี่ยนแปลงการเมืองครั้งที่สำคัญเกิดขึ้นใน       พ.ศ. 2445     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้เปลี่ยนแปลงคือ   ให้เมืองสกลนครรวมทั้งเขตแขวง รวมเรียกว่า  บิรเวณ งานราชการตลอดจนการบังคับบัญชาในหน้าที่เจ้าเมืองตกเป็นหน้าที่ของข้าหลวงบริเวณทั้งหมดส่วนเมืองบริวารของสกลนครตั้งเป็นอำเภอให้เจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ ราชบุตรเป็น
เสมียนอำเภอ   สำหรับพระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองนั้นให้เป็นที่ปรึกษาราชการของข้าหลวงบริเวณ
          หลังจากนั้นมาสกลนครได้มีข้าหลวงบริเวณจากส่วนกลาง เข้ามาบริหารราชการหลายคนเช่น หลวงพิไสยสิทธิ์กรรม(จีน)หลวงผดุงแคว้นประจันต์(ช่วง)พระสุนทรธนศักดิ์(สุทธิ์)ในขนะเดียวกันภารกิจก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดก็เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลง      จนถึง  พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้เปลี่ยนนามเมืองเป็นจังหวัดทั่วราชอาณาเขตสยาม เมืองสกลนคร   ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดสกลนครตั้งแต่นั้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น