วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหารา King Naresuan (เรื่องย่อ ทั่ง 4 ภาค)



ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 : ตอน องค์ประกันหงสา 
ชื่อภาษาอังกฤษ King Naresuan 1


จัดจำหน่ายโดย พร้อมมิตร โปรดัคชั่น


กำหนดฉาย 18 มกราคม 2550 


เรื่องย่อ




พุทธศักราช 2106 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (สมภพ เบญจาทิกุล) ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่านระแหงแขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราชอาณาจักรอยุธยาอันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมืองราชธานีได้เป็นผลสำเร็จ


ครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรหรือพระองค์ดำ (ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์) ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลก จำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองเพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้องมีภยันตราย และจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา


ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง) เจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือก 4 เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรส โดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ข้างสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง ก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรราชโอรสองค์โตให้ไปเป็นองค์ประกันประทับยังหงสาประเทศเฉกเช่นกัน กาลครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้เพียง 9 ชันษา




สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ประดุจพระราชบุตรร่วมสาย สันตติวงศ์ ด้วยองค์ยุพราชอยุธยาทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญสบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์


พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรยาวไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสาเพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก


พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่อง (สรพงษ์ ชาตรี) พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณและเจนจบในตำราพิชัยสงคราม เป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานคร ยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญ หาผู้เสมอเหมือนมิได้




เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรส คือ มังเอิน หรือ พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) และพระราชนัดดา มังสามเกียด ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้น หาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรมอันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ปกป้องครองแผ่นดิน ที่พระองค์ทรงสร้างและทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน


เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรสมังสามเกียดขัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงหยั่งรู้ว่าพระอัจฉริยภาพที่ทรงมีเหนือพระยุพราชของหงสาวดี กำลังชักนำภยันตรายมา พระองค์จึงทรงเสี่ยงภัยเดินทางจากพุกามประเทศสู่มาตุภูมิ อโยธยา-




นักแสดง
1. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รับบทโดย พ.ต.วันชนะ สวัสดี
2. สมเด็จพระเอกาทศรถ รับบทโดย พ.ท.วินธัย สุวารี
3. ออกพระราชมนู รับบทโดย นพชัย ชัยนาม
4. ออกพระชัยบุรี รับบทโดย ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง
5. ออกพระศรีถมอรัตน์ รับบทโดย พ.ต.คมกริช อินทรสุวรรณ
6. พระมหาเถรคันฉ่อง รับบทโดย สรพงษ์ ชาตรี
7. สมเด็จพระมหาธรรมราชา รับบทโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช
8. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ รับบทโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
9. สมเด็จพระมหินทราธิราช รับบทโดย สันติสุข พรหมศิริ
10. พระราเมศวร รับบทโดย สถาพร นาควิไล
11. พระยาท้ายน้ำ รับบทโดย คมน์ อรรฆเดช
12. พระยาพิชัย รับบทโดย กรุง ศรีวิไล
13. พระยาสวรรคโลก รับบทโดย มานพ อัศวเทพ
14. พระยาจักรี รับบทโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์
15. ขุนรัตนแพทย์ รับบทโดย โกวิท วัฒนกุล
16. เศรษฐี รับบทโดย ดี๋ ดอกมะดัน
17. พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง รับบทโดย สมภพ เบญจาธิกุล
18. พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง รับบทโดย จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
19. พระมหาอุปราชา รับบทโดย นภัสกร มิตรเอม
20. มณีจันทร์ รับบทโดย ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
21. เลอขิ่น รับบทโดย อินทิรา เจริญปุระ
22. หมอกมู รับบทโดย อภิรดี ทศพร
23. พระวิสุทธิกษัตรี รับบทโดย ปวีณา ชารีฟสกุล
24. พระเทพกษัตรี รับบทโดย ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
25. พระสุพรรณกัลยา รับบทโดย เกรซ มหาดำรงค์กุล
26. พระนางจันทราเทวี รับบทโดย เปรมสินี รัตนโสภา
27. มเหสีพระมหินทร์ (1) รับบทโดย ปริศนา กล่ำพินิจ
28. มเหสีพระมหินทร์ (2) รับบทโดย ปรารถนา ตันติพิพัฒน์
29. ท้าววรจันทร์ รับบทโดย อำภา ภูษิต
30. แม่นมพุดกรอง รับบทโดย นัยนา จันทร์เรียง
31. แม่นมทองสุก รับบทโดย เฉลา ประสพศาสตร์
32. พระนเรศวร (เด็ก) องค์ดำ รับบทโดย ด.ช. ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์ (น้องบีเจ)
33. พระเอกาทศรถ(เด็ก) องค์ขาว รับบทโดย ด.ช. กรัณย์ เศรษฐี (น้องเก้า)
34. ออกพระราชมนู (เด็ก) ไอ้ทิ้ง รับบทโดย ด.ช. จิรายุ ละอองมณี (น้องเก้า)
35. มณีจันทร์ (เด็ก) รับบทโดย ด.ญ.สุชาดา เช็คลีย์ (น้องดาด้า)
36. สุระกำมา รับบทโดย โสธรณ์ รุ่งเรือง
37. ลักไวทำมู รับบทโดย สมชาติ ประชาไทย
38. พระยาสีหราชเดโช รับบทโดย ธนา สินประสาธน์
39. พระยาราม รับบทโดย ประดิษฐ์ ภักดีวงษ์
40. พระยาพิชัยรณฤทธิ์ รับบทโดย อานนท์ สุวรรณเครือ
41. พระยาพิชิตรณรงค์ รับบทโดย พยัคฆ์ รามวาทิน
42. พระยาราชวังสรรค์ รับบทโดย ร.อ.กัมปนาท อั้งสูงเนิน
43. พระยาเสนาภิมุข รับบทโดย YANO KAZUKI




กำกับการแสดง
ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล




ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 : ตอนประกาศอิสรภาพ King Naresuan 2


โดย พร้อมมิตร โปรดัคชั่น


กำหนดฉาย 15 กุมภาพันธ์ 2550 


เรื่องย่อ
หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (สมภพ เบญจาทิกุล) สิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) ได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อ และได้สถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทครองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี เมื่อแผ่นดินหงสามีอันต้องผลัดมือมาอยู่ในปกครองของพระเจ้านันทบุเรง สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวร (พ.ต.วันชนะ สวัสดี) เองก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพม่ารามัญเช่นกาลก่อน


มิเพียงเท่านั้น สมเด็จพระนเรศวรยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม ดังคราวนำกำลังทำยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุและศึกเมืองคังเป็นอาทิ พระเจ้านันทบุเรงทรงเกรงว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระราชวงศ์แลแผ่นดินหงสา จึงหาเหตุวางกลศึกหมายจะปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรเสียที่เมืองแครงแต่พระมหาเถรคันฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้ศิษย์รักได้รู้ความ สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี แลกวาดต้อนครัวมอญไทยข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร


นักแสดง
1. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รับบทโดย พ.ต.วันชนะ สวัสดี
2. สมเด็จพระเอกาทศรถ รับบทโดย พ.ท.วินธัย สุวารี
3. ออกพระราชมนู รับบทโดย นพชัย ชัยนาม
4. ออกพระชัยบุรี รับบทโดย ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง
5. ออกพระศรีถมอรัตน์ รับบทโดย พ.ต.คมกริช อินทรสุวรรณ
6. พระมหาเถรคันฉ่อง รับบทโดย สรพงษ์ ชาตรี
7. สมเด็จพระมหาธรรมราชา รับบทโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช
8. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ รับบทโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
9. สมเด็จพระมหินทราธิราช รับบทโดย สันติสุข พรหมศิริ
10. พระราเมศวร รับบทโดย สถาพร นาควิไล
11. พระยาท้ายน้ำ รับบทโดย คมน์ อรรฆเดช
12. พระยาพิชัย รับบทโดย กรุง ศรีวิไล
13. พระยาสวรรคโลก รับบทโดย มานพ อัศวเทพ
14. พระยาจักรี รับบทโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์
15. ขุนรัตนแพทย์ รับบทโดย โกวิท วัฒนกุล
16. เศรษฐี รับบทโดย ดี๋ ดอกมะดัน
17. พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง รับบทโดย สมภพ เบญจาธิกุล
18. พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง รับบทโดย จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
19. พระมหาอุปราชา รับบทโดย นภัสกร มิตรเอม
20. มณีจันทร์ รับบทโดย ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
21. เลอขิ่น รับบทโดย อินทิรา เจริญปุระ
22. หมอกมู รับบทโดย อภิรดี ทศพร
23. พระวิสุทธิกษัตรี รับบทโดย ปวีณา ชารีฟสกุล
24. พระเทพกษัตรี รับบทโดย ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
25. พระสุพรรณกัลยา รับบทโดย เกรซ มหาดำรงค์กุล
26. พระนางจันทราเทวี รับบทโดย เปรมสินี รัตนโสภา
27. มเหสีพระมหินทร์ (1) รับบทโดย ปริศนา กล่ำพินิจ
28. มเหสีพระมหินทร์ (2) รับบทโดย ปรารถนา ตันติพิพัฒน์
29. ท้าววรจันทร์ รับบทโดย อำภา ภูษิต
30. แม่นมพุดกรอง รับบทโดย นัยนา จันทร์เรียง
31. แม่นมทองสุก รับบทโดย เฉลา ประสพศาสตร์
32. พระนเรศวร (เด็ก) องค์ดำ รับบทโดย ด.ช. ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์ (น้องบีเจ)
33. พระเอกาทศรถ(เด็ก) องค์ขาว รับบทโดย ด.ช. กรัณย์ เศรษฐี (น้องเก้า)
34. ออกพระราชมนู (เด็ก) ไอ้ทิ้ง รับบทโดย ด.ช. จิรายุ ละอองมณี (น้องเก้า)
35. มณีจันทร์ (เด็ก) รับบทโดย ด.ญ.สุชาดา เช็คลีย์ (น้องดาด้า)
36. สุระกำมา รับบทโดย โสธรณ์ รุ่งเรือง
37. ลักไวทำมู รับบทโดย สมชาติ ประชาไทย
38. พระยาสีหราชเดโช รับบทโดย ธนา สินประสาธน์
39. พระยาราม รับบทโดย ประดิษฐ์ ภักดีวงษ์
40. พระยาพิชัยรณฤทธิ์ รับบทโดย อานนท์ สุวรรณเครือ
41. พระยาพิชิตรณรงค์ รับบทโดย พยัคฆ์ รามวาทิน
42. พระยาราชวังสรรค์ รับบทโดย ร.อ.กัมปนาท อั้งสูงเนิน
43. พระยาเสนาภิมุข รับบทโดย YANO KAZUKI




กำกับการแสดง
ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล




ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาค 3 ตอน ยุทธนาวี (พร้อมมิตร โปรดักชั่น)


กำหนดฉาย : 31 มีนาคม 2554 
กำกับ : ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล
นำแสดง : พันตรี วันชนะ สวัสดี, จา พนม, พันโทวินธัย สุวารี, นพชัย ชัยนาม, อินทิรา เจริญปุระ, ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ, ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง, สรพงษ์ ชาตรี


          ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์แห่งวีรกษัตริย์ผู้ทรงประกาศอิสรภาพ ของ "พระองค์ดำ" หรือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อภิมหากาพย์ภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งสยามประเทศที่คนทั้งชาติรอคอย โดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล สานต่อเรื่องราวของพระนเรศฯ ที่ได้พาเชลยและคนไทยหนีกลับมายังแผ่นดินเกิด โดยทรงพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงฆ่าสุรกำมา แม่ทัพพม่าที่ได้ติดตามมา อันนำมาซึ่งการประกาศเอกราชที่เมืองแครง หลังจากทรงหลั่งทักษิโนทกประกาศความเป็นไทยไม่ขึ้นต่อพม่าอีกต่อไป


          ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ยุทธนาวี สานต่อเรื่องราวเมื่อกองทัพอโยธยาจะต้องรับศึกที่รายล้อมมาประชิดเมือง ทั้งกองทัพของพระยาพะสิมที่ยกทัพเข้ามาผ่านด่านเจดีย์สามองค์, กองทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ และฉากสำคัญคือการทำศึกยุทธนาวีของพระนเรศฯ เพื่อออกตามล่าตัวพระยาจีนจันตุ สายลับของเมืองละแวก อันเป็นฉากการรบทางน้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดฉากหนึ่ง ซึ่งคนไทยจะได้สัมผัสเป็นครั้งแรก ด้วยจำนวนเรือรบกว่าร้อยลำ พร้อมด้วยนักแสดงที่มาเสริมทัพอย่างคับคั่ง อาทิ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ,นุ่น ศิรพันธ์ วัฒนจินดา, นุ้ยเกศริน เอกธวัชกุล ฯลฯ


          ไม่เพียงแต่ความเข้มข้นในเรื่องราวสงคราม แต่ปมรักก็ดำเนินมาถึงช่วงเวลาสำคัญที่ยากจะหาทางแก้ ทั้งรักสามเส้าของเลอขิ่น ธิดาเจ้าเมืองคัง ,เสือฟ้า และพระราชมนู ไปจนถึงพระเจ้านันทบุเรง ที่มีจิตปฏิพัทธิ์ต่อสมเด็จพระสุพรรณกัลยา องค์ประกันหงสาผู้เป็นทั้งเมียพ่อ และพี่สาวของศัตรู


          เรื่องราวศึกรบ และความรักยังคงดำเนินต่อไป แต่เป้าหมายอันสำคัญยิ่งของพระนเรศฯ ในการทำให้อโยธยาเป็นไทจากหงสาให้จงได้ ยังคงไม่เสร็จสิ้นและนำไปสู่การทำยุทธหัตถี ที่ปรากฎชื่อลือไกลและต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ใน "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 ยุทธหัตถี"


          การประกาศเอกราชที่เมืองแครง และสังหารสุรกำมาเหนือยุทธภูมิฝั่งน้ำสะโตงของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (หรือ สมเด็จพระนเรศ) ในปีพุทธศักราช 2127 ได้สร้างความตระหนกแก่พระเจ้านันทบุเรงองค์ราชันหงสาวดีพระองค์ใหม่ ด้วยเกรงว่าการแข็งข้อของอยุธยาในครั้งนี้จะเป็นเยี่ยงอย่างให้เหล่าเจ้า ประเทศราชที่ขึ้นกับหงสาวดีอาศัยลอกเลียนตั้งตัวกระด้างกระเดื่องตาม แต่จนพระทัยด้วยติดพันศึกอังวะ จึงจำต้องส่งเพียงทัพพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา ทางหนึ่งนั้นพระเจ้านันทบุเรงทรงประมาทสมเด็จพระนเรศ ด้วยเห็นว่ายังอ่อน พระชันษา คงมิอาจรับมือจอมทัพผู้ชาญณรงค์ทั้งสองได้ ทางหนึ่งก็สำคัญว่ากรุงศรีอยุธยา ยังบอบช้ำแต่คราวสงครามเสียกรุง ไพร่พลเสบียงกรังยังมิบริบูรณ์คงยากจะรักษาพระนคร


          ครั้งนั้นพม่ารามัญยกเข้ามาเป็นศึกกระหนาบถึง 2 ทาง ทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทาง ด่านพระเจดีย์สามองค์ เลยล่วงเข้ามาถึงแดนสุพรรณบุรี ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่ นรธาเมงสอ มาจากทางเหนือ นำทัพบุกลงมาตั้งค่ายถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองอ่างทอง


          กิตติศัพท์การชนะศึกของสมเด็จพระนเรศหลายครั้งหลายคราระบือไกลถึงแผ่นดิน ละแวก เจ้ากรุงละแวกมิได้ทอดธุระ ได้ลอบส่งจารชนชาวจีนฝีมือกล้านามว่า "จีนจันตุ" มาลอบสืบความ ที่กรุงศรีอยุธยาแต่ถูกจับพิรุธได้จนต้องลอบตีสำเภาหนีกลับกรุงละแวก สมเด็จพระนเรศทรงนำทัพเรือออกตามจนเกิดยุทธนาวี แต่พระยาจีนจันตุหนีรอดได้ เมื่อเจ้ากรุงละแวกได้ทราบกิตติศัพท์การณรงค์ของพระนเรศจึงเปลี่ยนพระทัยหัน มาสานไมตรีกับอยุธยา และส่งพระศรีสุพรรณราชาธิราชผู้อนุชามาช่วยอยุธยาทำศึกหงสา หากแต่พระศรีสุพรรณผู้นี้ต่างจากเจ้ากรุงละแวกเพราะหาใคร่พอใจผูกมิตรด้วย อยุธยา การได้พระศรีสุพรรณมาเป็นสหายศึกจึงประหนึ่งอยุธยาได้มาซึ่งหอกข้างแคร่


          ข้าง สมเด็จพระนเรศ เมื่อทรงประกาศเอกราชแล้วก็จัดเตรียมการรับศึกหงสาวดี แต่เพราะกำลังรบข้างอยุธยาเป็นรอง จึงทรงวางยุทธศาสตร์รับศึกโดยมุ่งอาศัยกรุงศรีอยุธยาเป็นที่มั่นเพียงแห่ง เดียว ครั้งนั้นได้โปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนืออันเป็นแคว้นสุโขทัยเดิมลงมารวมกับ ครัวที่อยุธยา การณ์ปรากฏว่าเจ้าเมืองพิชัยและสวรรคโลกข้าหลวงเดิมแข็งเมืองไม่เทครัวลงมา สมทบ จึงทรง ยึดเมืองแล้วลงทัณฑ์มิให้เป็นเยี่ยงอย่าง


          สมเด็จพระนเรศ ทรงเห็นว่ากำลังข้างอยุธยายังเป็นรองพม่ารามัญ จึงทรงปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์การรบเสียใหม่ โดยมิปล่อยให้ทัพพระยาพะสิมและนรธาเมงสอเจ้าเมืองเชียงใหม่ เข้ามารวมกำลังผนึกล้อมร่วมกันตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้นทรงจัดทัพออกรับศึกในแขวงหัวเมือง แลด้วยทัพพม่ารามัญแยกสายเข้าตีเป็นสองทางเดินทัพช้าเร็วไม่เสมอกัน จึงทรงเทกำลังเข้ารับศึกพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี ตั้งพระทัยจะตีทัพเบื้องประจิมทิศก่อน แล้วจึงเทกำลังเข้าตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่เบื้องอุดรทิศภายหลัง การทั้งหมดทั้งสิ้นต้องทำแข่งกับเวลา หากพลาดท่า แม้เพียงก้าวอยุธยาก็ไม่พ้นพินาศ ถึงแม้ครั้งนั้นทัพพม่ารามัญจะมิได้ยกมาดั่งทัพกษัตริย์เช่นศึกพระเจ้าช้าง เผือกบุเรงนอง แต่ไพร่พลก็มากเหลือประมาณเพียงพอจะสร้างความย่อยยับให้ เหล่าอาณาประชาราษฎร์เกินคาดเดา


          ภายใต้บรรยากาศกลิ่นอายสงครามนับแต่ศึกจีนจันตุ ตลอดถึงศึกพระยาพะสิมและ ศึกพระเจ้าเชียงใหม่ ในพระนครก็เกิดไฟรักโชติขึ้นท่ามกลางไฟสงคราม กลายเป็นเรื่องรักระหว่างรบ ด้วย "เลอขิ่น" ธิดาเจ้าเมืองคัง มีอันมาพบ "เสือหาญฟ้า" คนรักเก่าที่รอดชีวิตมาแต่ศึกเมืองคัง โดยบังเอิญ เกิดขัดข้องเป็นรักสามเส้ากับ "พระราชมนู" คนรักใหม่ทหารเสือพระนเรศ ไฟรักยิ่งลุกลามเมื่อนางพระกำนัลทรงเสน่ห์นาม "รัตนาวดี" มาทอดไมตรีให้พระราชมนู เกิดเป็นปมรัก ซ้อนปมรบ


          ทางฝ่ายหงสาวดีนั้น พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่ารามัญพระองค์ใหม่มีใจพิศวาส พระสุพรรณกัลยา  พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศ หมายจะได้มาแนบข้าง ซ้ำพระนเรศอนุชา มาประกาศเอกราชท้าทายอำนาจของพระองค์ ทำให้สถานะของพระสุพรรณกัลยาในฐานะ องค์ประกันต้องสุ่มเสี่ยงต่อราชภัย พระสุพรรณกัลยาซึ่งขณะนั้นมีพระราชโอรสด้วยพระเจ้าบุเรงนองแล้ว ทรงถูกพระเจ้านันทบุเรงข่มขู่ บีบบังคับให้ต้องเลือกระหว่างการยอมพลีกายถวายตัวเป็น บาทบริจาริกา หรือยอมจบชีวิตด้วยการถูกย่างสดตามโทษานุโทษของพระอนุชา ชะตากรรมของพระพี่นางสุพรรณกัลยานั้นสุดรันทด


          เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทรงเสร็จศึกอังวะก็เตรียมการเปิดศึกกับอยุธยา ทรงระดมไพร่พล แต่งเป็นทัพกษัตริย์ กองทัพใหญ่โตเหลือคณากว่าทัพบุเรงนองช้างเผือก เฉพาะไพร่ราบมีกำลัง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 240,000 คน ทัพนี้หมายมุ่งบดขยี้อยุธยาลงเป็นผุยผงหากทัพพระยาพะสิมและทัพพระเจ้า เชียงใหม่ตีกรุงไม่สำเร็จ แต่สมเด็จพระนเรศก็สู้ศึกนันทบุเรงและนำพากรุงศรีอยุธยา ให้รอดจากภัยสงคราม กู้บ้านเมืองมิให้ต้องตกเป็นประเทศราชหงสาซ้ำสองได้ด้วยกุศโลบาย การศึกที่เหนือชั้นด้วยพระอัจฉริยภาพ







 ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาค 4 ศึกนันทบุเรง 


          ภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ในทุกบทตอนที่ผ่านมาตราบถึงตอนที่ 4 "ศึกนันทบุเรง" ล้วนมุ่งฟื้นอดีตอันเป็นวีรกรรมของวีรกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอยุธยา ซึ่งได้ทรงประกอบพระราชภารกิจอันเป็นคุณูประการต่อแผ่นดินเป็นสำคัญ นั่นคือการประกาศเอกราชและการรักษาเอกราช


          หลักฐานในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและพงศาวดารพม่าระบุตรงกันว่า ภายหลังการประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2127 แล้วนั้น พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้โปรดให้กรีฑาทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาคืนเป็นเมือง ขึ้นถึง 4 ครั้งคราว คือ ในคราวศึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่เมงนรธาสอ ในปี พ.ศ. 2127/28 ศึกนันทบุเรงปี พ.ศ.2129 ศึกมหาอุปราชาในปี พ.ศ.2133 และศึกยุทธหัตถีในปี พ.ศ. 2135 ในศึกทั้ง 4 ครั้ง


          ตามกล่าว ศึกที่นำพาให้ราชอาณาจักรอยุธยาต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์อันสุ่มเสี่ยงต่อการ สิ้นสูญแผ่นดินคือศึกนันทบุเรง กระนั้นก็ดี เมื่อออกนามศึกนันทบุเรง จะมีคนไทยน้อยคนที่เคยได้ยินหรือระลึกได้ แต่หากระบุถึงวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่ว่าจะเมื่อครั้งออกปล้น ค่ายพม่า จนเป็นที่มาของเรื่องพระแสงดาบคาบค่าย หรือการออกรบบนหลังอาชาจนสังหารลักไวทำมูทหารเอกข้างหงสาวดี


          ทั้งหมดเป็นวีรกรรมที่ล้วนอุบัติในคราวศึกนันทบุเรงทั้งสิ้น ด้วยเหตุประการฉะนี้ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลจึงมุ่งพลิกฟื้นวีรกรรมแห่งการปกป้องเอกราชของวีรกษัตริย์ผู้เรืองนาม พระองค์นี้ในคราวศึกนันทบุเรงให้ปรากฏบนแผ่นฟิล์ม เพื่อจารึกเกียรติประวัติครั้งนั้นไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย และเพื่อความสมบูรณ์ของมหากาพย์การสร้างตำนานสมเด็จพระนเรศวร


          ภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรตอน "ศึกนันทบุเรง" ดำเนินเรื่องตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์โดยนำแสดงที่มาแห่งศึกซึ่งยึด โยงจากผลการปราชัยของหงสาวดีในคราวศึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่ ความพ่ายแพ้ครั้งนั้น ทำให้พระเจ้านันทบุเรงทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรและใน ความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา จึงทรงตัดสินพระทัยยกทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์มาย่ำยีราชธานีสยาม ให้ราบเป็นหน้ากลองเพื่อเป็นการแก้มือและเพื่อรักษาซึ่งพระเกียรติยศมิให้ เป็นที่ดูแคลนแก่เหล่าเจ้าประเทศราชในขอบขัณฑสีมาพุกามประเทศ ภาพยนตร์ได้ตีแผ่ให้เห็นว่าศึกนันทบุเรงครั้งนั้นพม่ายกเข้ามาเป็นทัพ กษัตริย์ กองทัพจึงมีความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่น่าเกรงขามกว่าทุกศึก หลักฐานข้างพม่าระบุว่ากองทัพพระเจ้านันทบุเรงประกอบด้วยช้าง 3,200 ทัพม้า 12,000 และไพร่ราบซึ่งมีจำนวนถึง 252,000 ในกองทัพนี้ยังมีนายทัพผู้ปรีชาสามารถตามติดมาร่วมรบ ไม่ว่าจะเป็นพระมหาอุปราชา มังจาปะโร หรือแม้แต่ลักไวทำมูทหารกล้า


          ภาพยนตร์ยังได้ตีแผ่ให้เห็นว่า กิตติศัพท์ความยิ่งใหญ่ที่น่าเกรงขามของทัพหงสาวดีที่ยกเข้ามาครั้งนั้นส่ง ผลให้เจ้าเมืองกรมการเมืองในขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักรอยุธยาข้างฝ่ายเหนือ ประหวั่นพรั่นพรึงถึงกับสมคบคิดกันแปรพักตร์เข้าสมานสมัครพระเจ้านันทบุเรง รบสมเด็จพระนเรศวร เป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรต้องเผชิญทั้งศึกนอกและศึกใน สถานการณ์กลับยิ่งบีบคั้นให้คับขันยิ่งขึ้นเมื่อพระศรีสุธรรมราชา พระอนุชาเจ้ากรุงละแวกซึ่งขัดพระทัยสมเด็จพระนเรศวรแต่กาลก่อน ได้ยุยงให้พระเชษฐาตัดสัมพันธไมตรีกับอยุธยาจนเป็นเหตุให้ละแวกกลายมาเป็น หอกข้างแคร่ ที่พร้อมจะกระหน่ำซ้ำเติมกรุงสยามให้ย่อยยับหากมีอันพลาดท่าเสียทีในศึกนันท บุเรง


          ภาพยนตร์ได้ลำดับให้เห็นถึงภัยรอบด้านที่บีบรัดให้สมเด็จพระนเรศวรทรงต้องเผชิญศึกอย่างโดดเดี่ยว แต่เคราะห์กลับทับทวีคูณเมื่อสหายศึก เช่น เลอขิ่น และกำลังเมืองคัง ซึ่งร่วมกรำศึกกันมาแต่เบื้องต้นคิดถอนตัวตีจากเนื่องจากพิษรักระหว่างรบ ที่จบลงด้วยความร้าวฉานระหว่างเลอขิ่นกับพระราชมนูขุนศึกคู่พระทัย ความขัดแย้ง ด้วยเหตุส่วนตัวได้บานปลายกลายเป็นภัยของแผ่นดินในคราวคับขันเมื่ออยุธยา ต้องเผชิญศึก ซึ่งประมาณได้ว่าเป็นมหาสงครามภายใต้โทสจริตของพระเจ้านันทบุเรง  


          ด้วยข้อจำกัดที่รุมเร้าหลายประการ ผสานกับจำนวนไพร่พลที่เป็นรองหงสาวดี อยู่หลายขุม ทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงจำต้องปรับยุทธศาสตร์การตั้งรับทัพหงสาวดีเสียใหม่ โดยทรงใช้พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีทำเลที่ตั้งที่ได้เปรียบเป็นฐานบัญชาการรบแต่เพียงแห่งเดียว โดยทรงส่งกำลังออกไปปักปราการ วางแนวป้องกันมิให้พม่าเข้ามาปลูกค่ายใกล้ขอบคูพระนครและกำแพงเมือง ทั้งยังแต่งกำลังเป็นกองโจรเข้าปล้นค่ายข้าศึกอย่างอาจหาญ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้ทรงถ่ายทอดยุทธนาการครั้งสำคัญนั้นลงบนแผ่นฟิล์มได้อย่างเต็มตาตื่นใจโดย เฉพาะตอนที่สมเด็จพระนเรศวรทรงคาบ พระแสงดาบขึ้นปีนปล้นค่ายพม่า ภาพห่าธนูเพลิงที่สาดซัดและกองทัพนับพันนับหมื่น ปีนพะองขึ้นชิงค่าย ทั้งหมด คือ ความอลังการที่ผู้ชมจะได้สัมผัสในตำนานสมเด็จพระนเรศวรตอนศึกนันทบุเรงนี้

          เมื่อ ศึกเหนือเสือใต้รุมกระหน่ำ ขุนนางผู้ใหญ่ขาดสามัคคีคิดคดคำนึงแต่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง จอมทัพผู้รั้งราชบัลลังก์และความอยู่รอดของแผ่นดินก็มาพลาดท่าต้องศาสตรา กลางสมรภูมิศึก ยอดทหารเอกกรุงศรีถูกขุนศึกผู้ชาญณรงค์กว่าจับเป็นเชลย ชะตากรรมกรุงศรีอยุธยา และสมเด็จพระนเรศวรจะลงเอยฉันใด เชิญท่านร่วมเป็นประจักษ์พยานในภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรภาค 4 ศึกนันทบุเรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น