วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การพิพาทแรงงาน การนัดหยุดงาน และการปิดงาน ปี 2552

การพิพาทแรงงาน การนัดหยุดงาน และการปิดงาน ปี 2552
จังหวัด
ข้อพิพาทแรงงาน
การนัดหยุดงาน
การปิดงาน
แห่ง
ครั้ง
ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
ครั้ง
ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
วันหยุดงาน
วันทำงานที่สูญเสีย
ครั้ง
ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
วันหยุดงาน
วันทำงานที่สูญเสีย
กรุงเทพมหานคร
10

10
5,188








ปริมณฑล











นนทบุรี











ปทุมธานี
4
6
2,300








สมุทรปราการ
42


57
14,848




1
118
14
1,652
สมุทรสาคร
1
1
443








นครปฐม











ภาคกลาง











กาญจนบุรี











นครนายก











ฉะเชิงเทรา
5
5
2,646








ชลบุรี
2
2
722








ชัยนาท



1
126
14
1,764
1
35
67
2,345
ปราจีนบุรี
8
9
2,139








ลพบุรี











อ่างทอง







                1
               3
               25
75
เพชรบุรี











จังหวัด
ข้อพิพาทแรงงาน
การนัดหยุดงาน
การปิดงาน
แห่ง
ครั้ง
ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
ครั้ง
ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
วันหยุดงาน
วันทำงานที่สูญเสีย
ครั้ง
ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
วันหยุดงาน
วันทำงานที่สูญเสีย
พระนครศรีอยุธยา
5
5
52,197




1
3
25
75
ประจวบคีรีขันธ์











สิงห์บุรี











สระบุรี
3
3
540








ระยอง
16
16
11,597
1
330
1
330




ตราด











ภาคเหนือ











กำแพงเพชร











นครสวรรค์











ตาก











เชียงใหม่











ลำพูน











ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ










นครราชสีมา











บุรีรัมย์











ขอนแก่น











ชัยภูมิ











หนองบัวลำภู











จังหวัด
ข้อพิพาทแรงงาน
การนัดหยุดงาน
การปิดงาน
แห่ง
ครั้ง
ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
ครั้ง
ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
วันหยุดงาน
วันทำงานที่สูญเสีย
ครั้ง
ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
วันหยุดงาน
วันทำงานที่สูญเสีย
ภาคใต้











ชุมพร











ระนอง











ปัตตานี











สงขลา
2
2
670








ภูเก็ต
3
3
488








รวม
101
119
43,778
2
456
15
2,094
3
156
106
4,072

ที่มา http://relation.labour.go.th/
ข้อพิพาทแรงงาน
เมื่อการเจรจาต่อรองไม่ประสบผลสำเร็จ นายจ้างและฝ่ายลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานไม่อาจตกลงในเรื่องที่เรียกร้องหรือต่อรองได้ ก็จะเกิดข้อพิพาทแรงงานขึ้น แต่ละฝ่ายอาจใช้อำนาจในการเจรจาต่อรองกดดันให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมตกลงด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การนัดหยุดงานของลูกจ้าง หรือการปิดงานของนายจ้าง เป็นต้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ทุกฝ่าย จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการระงับข้อพิพาทแรงงานเพื่อให้ข้อพิพาทแรงงานยุติลงด้วยสันติวิธีและโดยเร็ว วิธีการระงับข้อพิพาทแรงงานที่ใช้กันในทางสากลนั้นมีอยู่หลายวิธีการ ซึ่งได้แก่
1.             การประชุมปรึกษาและเจรจาหาข้อยุติ
2.             การค้นหาและแสดงข้อเท็จจริง (fact finding)
3.             การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอม
4.             การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานโดยสมัครใจ
5.             การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานโดยบังคับ
6.             การเสนอข้อพิพาทแรงงานต่อศาลโดยฝ่ายหนึ่ง
7.             การปิดงาน และ
8.             การนัดหยุดงาน
รูปแบบการนัดหยุดงาน
การนัดหยุดงานระยะสั้น
ลูกจ้างจะนัดหยุดงานเป็นระยะเวลาเท่าใดก็ได้ เช่น 30นาที 1 วัน หรือหลายวันก็ได้ ก็สามารถกระทำได้  หากได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงตั้งแต่เวลาที่แจ้ง  การนัดหยุดงานนี้หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายหรือตามที่แจ้งการนัดหยุดงานไว้ ย่อมเป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์  เพราะลูกจ้างยังอยู่ในสถานที่ทำงาน และหากการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างแล้ว  ลูกจ้างย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย  และอาจมีความผิดฐานะละเมิดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  หรือตามกฎหมายอาญาอีกด้วย
การนัดหยุดงานบางส่วน
กฎหมายมิได้กำหนดจำนวนลูกจ้างที่ร่วมนัดหยุดงานไว้   การนัดหยุดงานจึงอาจกระทำเพียงบางส่วน หากได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ลูกจ้างที่เหลือเพียงส่วนน้อยก็ยังสามารถหยุดงานต่อไปได้โดยชอบทางกฎหมาย ทั้งนี้เพราะการนัดหยุดงานตามกฎหมายไทยเป็นสิทธิของลูกจ้างทุกคน

การนัดหยุดงานโดยมิใช่มติสหภาพแรงงาน
ในบางประเทศ การนัดหยุดงานจะกระทำได้โดยสหภาพแรงงานเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการนัดหยุดงานอย่างเป็นทางการ   แต่สำหรับประเทศไทย การนัดหยุดงานเป็นสิทธิโดยชอบของลูกจ้างทุกคน รวมทั้งสหภาพแรงงาน หากได้กระทำถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้
การนัดหยุดงานแบบสกัดกั้นสายการผลิตหรือการนัดหยุดงานแบบจุกขวด
เป็นการนัดหยุดงานบางส่วน ที่มีความสำคัญต่อสายการผลิตขั้นต่อไป ทำให้ลูกจ้างกลุ่มอื่นไม่สามารถทำงานหรือดำเนินการผลิตต่อไปได้   การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการนัดหยุดงานที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการนัดหยุดงานบางส่วนและการนัดหยุดงานแบบสับเปลี่ยนหมุนเวียนหากได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนทางกฎหมาย
การนัดหยุดงานแบบหมุนเวียน
เป็นการนัดหยุดงานที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนจากแผนกหนึ่งไปอีกแผนกหนึ่งหรือจากโรงงานหนึ่งไปอีกโรงงานหนึ่ง หารนัดหยุดงานเช่นนี้หากกระทำถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการนัดหยุดงานที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
การนัดหยุดงานระดับชาติ
เป็นการนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องปกป้องสิทธิและประโยชน์ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งสวัสดิการต่างๆหรือเพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือการเลิกจ้างบางแผนกหรือบางส่วนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือการนำเทคโนโลยีสมันใหม่มาใช้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดจากข้อพิพาทแรงงานโดยตรงหรือไม่ก็ตาม  ซึ่งการนัดหยุดงานแบบนี้มักมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้อง ต่อต้าน หรือประท้วงรัฐบาลโดยตรง  และเป็นการนัดหยุดงานโดยสหภาพแรงงานในหลายสถานประกอบการร่วมกัน   ทั้งนี้เพื่อแสดงพลังอำนาจในการเจรจาต่อรองร่วม   การนัดหยุดงานระดับชาตินี้มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการนัดหยุดงานทางการเมือง  เพราะโดยทั่วไปแล้วมักมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่  ดังนั้นหากไม่ประสบความสำเร็จ ลูกจ้างที่ร่วมชุมนุมนัดหยุดงานนอกจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานและมีความผิดตามกฎหมายอื่นอีก
การหยุดงานด้วยความเห็นใจ
เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของลูกจ้างอื่นที่กำลังทำการนัดหยุดงานในสถานประกอบการเดียวกันหรือต่างสถานประกอบการกัน    การนัดหยุดงานเช่นนี้เป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เนื่องจากไม่มีสาเหตุจากข้อพิพาทแรงงานนั่นเองและเป็นการนัดหยุดงานที่ไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจเลย   ลูกจ้างก็ไม่ได้ค่าจ้างในระหว่างการนัดหยุดงานรวมทั้งไม่ได้ประโยชน์อื่นใดจากการนัดหยุดงานเลย
การนัดหยุดงานที่ไม่คาดคิด
การนัดหยุดงานแบบนี้ไม่คำนึงถึงเวลาหรือขั้นตอนตามกฎหมาย อาจนัดหยุดงานในระหว่างที่ยังอยู่ในช่วงการเจรจาต่อรองหรือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานหรือนัดหยุดงานโดยไม่แจ้งให้พนักงานประกอบข้อพิพาทแรงงานและอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าการนัดหยุดงานเช่นนี้ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง
การนัดหยุดงานแบบเฉื่อยงาน
การนัดหยุดงานแบบเฉื่อยงานนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย  ลูกจ้างยังคงทำงานในสถานที่ทำงานโดยไม่ได้หยุดงานจริงๆ  เพียงแต่ทำงานเชื่องช้า ทำเพียงบางส่วนหรือทำในลักษณะที่ขาดตกบกพร่อง  ซึ่งเป็นการกระทำที่จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การนัดหยุดงานเช่นนี้จึงไม่ใช่การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ แต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย  เนื่องจากลูกจ้างที่นัดหยุดงานยังคงทำงานโดยจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย  ซึ่งนายจ้างอาจเลิกจ้างไปเลยโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

การนัดหยุดงานโดยไม่ยอมออกจากสถานที่ทำงานหรือโดยครอบครองสถานที่ทำงาน
การหยุดงานโดยไม่ยอมเข้าทำงานตามหน้าที่  และไม่ยอมออกจากสถานประกอบการ ทั้งไม่ยอมหรือขัดขวางไม่ให้ลูกจ้างแทนเข้าทำงาน   ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการเดียวกันหรือที่นายจ้างจัดหามาใหม่  การนัดหยุดงานเช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การนัดหยุดงานแบบนี้หากกระทำเพียงระยะเวลาอันสั้นหรือโดยสงบซึ่งลูกจ้างอื่นสามารถทำงานต่อไปได้ และนายจ้างไม่ได้สั่งให้ลูกจ้างออกจากสถานที่ทำงาน ก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย
การนัดหยุดงานโดยการชุมนุมหน้าสถานที่ทำงานหรือบริเวณใกล้เคียง
การชุมนุมเช่นว่านี้หากกระทำด้วยความรุนแรงหรือโดยการข่มขู่  ก็อาจเป็นการกระทำที่มีความผิดกฎหมายอื่น   ไม่ว่าจะเป็นการกระทำภายในหรือภายนอกสถานประกอบการ หรือหน้าถนนทางเข้า-ออก สถานประกอบการ   ก็เป็นการกระทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติและมีความผิดตามกฎหมายทั้งความผิดทางแพ่งและอาญา
รูปแบบการปิดงาน
          การปิดงาน ไม่มีรูปแบบที่ซับซ้อนมากมายเหมือนการหยุดงาน  การปิดงานอาจกระทำเพียงบางส่วน บางแผนก หรือเฉพาะกลุ่มลูกจ้างที่ยื่นหรือแจ้งข้อเรียกร้อง หรือปิดงานทุกส่วน ทุกแผนกทั้งสถานประกอบการ และอาจเกิดขึ้นก่อนการนัดหยุดงาน ระหว่างการนัดหยุดงาน หรือหลังจากที่การนัดหยุดงานได้ยุติลงแล้วก็ได้
การปิดงานบางส่วน  
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้กำหนดให้การปิดงานต้องกระทำแก่ลูกจ้างทุกคนหรือปิดทั้งกิจการ ดังนั้น การปิดงานบางส่วนเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย 
                การปิดงานบางส่วน  เป็นมาตรการตอบโต้การนัดหยุดงานบางส่วน การนัดหยุดงานแบบเฉื่อยงาน การนัดหยุดงานแบบสับเปลี่ยนหมุนเวียนหรือการนัดหยุดงานแบบครอบครองสถานที่ทำงาน ทั้งนี้ เพื่อบีบบังคับหรือกดดันลูกจ้างที่นัดหยุดงานโดยการปิดงานเฉพาะส่วนหรือเฉพาะแผนกของลูกจ้างที่นัดหยุดงาน   ซึ่งระยะเวลาในการปิดงานนั้นมักจะยาวนานกว่าระยะเวลาการนัดหยุดงานที่ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานกำหนดไว้  
          การปิดงานเช่นนี้มักมีผลให้ลูกจ้างที่มิได้ร่วมหยุดงานไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจฝ่ายที่นัดหยุดงานจนอาจก่อให้เกิดความแตกแยกกันเองทั้งระหว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานด้วยกันเองและลูกจ้างหรือสมาชิกสหภาพแรงงานที่นัดหยุดงานกับฝ่ายที่มิได้ร่วมนัดหยุดงานด้วย ซึ่งอาจมีผลให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานบางส่วนต้องการกลับเข้าทำงานหากไม่มีทุนสนับสนุนการขาดรายได้ระหว่างการนัดหยุดงาน และทำให้การนัดหยุดงานล้มเหลวไปได้ 
          การปิดงานเช่นนี้ มักกระทำทันทีที่ลูกจ้างนัดหยุดงานเพื่อตอบโต้การนัดหยุดงาน หรืออาจกระทำก่อนการนัดหยุดงานก็ได้ในกรณีที่นายจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องสวนทางหลังจากที่ฝ่ายลูกจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องก่อนแล้ว ทั้งนี้ เพื่อทำลายการนัดหยุดงานของลูกจ้างที่กำลังจะเกิดขึ้นและอยู่ในขั้นเตรียมการ การปิดงานในลักษณะนี้เป็นการกระทำที่ก้าวร้าวโดยใช้กำลังอำนาจทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่าบีบบังคับฝ่ายลูกจ้างให้ต้องยอมตามข้อเสนอของตน หรือให้ถอนข้อเรียกร้อง ซึ่งบางประเทศถือว่าเป็นการปิดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
          อย่างไรก็ตาม การปิดงานบางส่วนนี้เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ  ซึ่งให้สิทธิการปิดงานแก่นายจ้าง และให้สิทธิการนัดหยุดงานแก่ลูกจ้างโดยเท่าเทียมกัน
การปิดงานทั้งกิจการ 
การที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องหรือข้อพิพาทแรงงานหรือไม่ก็ตาม   งดการทำงานหรืองดการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว และปิดสถานประกอบกิจการเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้   ทั้งนี้ เพื่อบีบบังคับให้ฝ่ายลูกจ้างต้องยอมตามข้อเสนอ หรือเพื่อให้ฝ่ายลูกจ้างยุติการนัดหยุดงาน  ซึ่งอาจกระทำก่อนการนัดหยุดงาน  ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องหรือในกรณีที่นายจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องสวนทางภายหลัง การแจ้งข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้าง หรืออาจกระทำระหว่างการนัดหยุดงาน หรือหลังจากการนัดหยุดงานครั้งแรกก็ได้ ถ้าข้อพิพาทแรงงานนั้นยังไม่ยุติหรือยังตกลงกันไม่ได้

นายจ้างปิดงาน(Lockout) หรือลูกจ้างนัดหยุดงาน (strike)
เมื่อนายจ้างและลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานไม่อาจตกลงในเรื่องที่เรียกร้องกันได้ด้วยวิธีการเจรจาในกระบวนการเจรจาต่อต่อรอง   นายจ้างหรือลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานอาจใช้มาตรการแรงงานสัมพันธ์หรือการปฏิบัติเชิงบังคับในทางอุตสาหกรรมกดดันเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงในเรื่องที่เจรจานั้นได้
มาตรการทางด้านแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวของนายจ้างเรียกว่า  การปิดงาน(lockout)  ส่วนของฝ่ายลูกจ้างเรียกว่า การนัดหยุดงาน (strike) การปิดงานเป็นวิธีการของนายจ้าง  กระทำเพื่อบังคับฝ่ายลูกจ้างในทางเศรษฐกิจด้วยวิธีปิดงานไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้าง  ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างถอนข้อเรียกร้องที่ได้เรียกร้องไว้  หรือยอมรับตามข้อเสนอของนายจ้างในการเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ข้อตกลงในการจ้างงานและการทำงานระหว่างกัน การปิดงานเป็นเครื่องมือที่นายจ้างใช้บังคับให้ลูกจ้างกระทำตามความประสงค์ของตน    โดยอาศัยความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ในการทำงาน
                ปกติการปิดงานไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก  เพราะการปิดงานสร้างความเสียหายต่อกระบวนการในการผลิต  นายจ้างขาดรายได้  เสียลูกค้า  ผลิตสินค้าส่งลูกค้าไม่ทัน  ด้านการเงิน มีนายจ้างจำนวนไม่น้อยกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมาลงทุนในการประกอบกิจการ  เมื่อปิดงานก็ย่อมมีปัญหาทางการเงิน  ลักษณะการปิดงาน คือ  การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างรายงานตัวเข้าทำงานด้วยการลงเวลาทำงาน  ซึ่งใช้วิธีรายงานทางอิเลคทรอนิกส์หรือการลงลายมือชื่อ  ด้วยวิธีปิดโรงงานที่ลูกจ้างทำงาน  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างปิดงาน  แต่ถ้านายจ้างปิดเครื่องจักรในการผลิตโดยยอมให้ลูกจ้างเข้าลงชื่อและลงเวลาทำงานไม่ถือเป็นการปิดงาน
                ระยะเวลาในการปิดงานจะยาวนานเท่าไร ขึ้นอยู่กับความอดทนต่อความเสียหายที่นายจ้างได้รับ  เพราะการปิดงานทำให้นายจ้างไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้ตามที่ลูกค้าสั่ง  อาจทำให้สูญเสียลูกค้า  ต้องเสียดอกเบี้ยกรณีการใช้เงินลงทุนจากเงินกู้สถาบันการเงิน  การปิดงานจะยุติเมื่อนายจ้างบรรลุผลและลูกจ้างยอมตามข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือเมื่อลูกจ้างยอมเจรจาและกลับเข้าทำงาน  การปิดงานจึงมีระยะเวลาไม่แน่นอน  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
                การปิดงานไม่ใช่การเลิกกิจการหรือการปิดกิจการ  การปิดงานเป็นการหยุดทำงานของลูกจ้างชั่วคราว  ขณะปิดงานนายจ้างอาจทำการงานในส่วนของนายจ้างหรือส่วนที่ไม่ต้องใช้แรงงานของลูกจ้างได้  แต่การปิดกิจการหรือการเลิกกิจการเป็นความประสงค์ของนายจ้างที่จะไม่ประกอบกิจการอีกต่อไป  ซึ่งหมายถึงการเลิกจ้างลูกจ้างการปิดงานในต่างประเทศจะเกิดขึ้นในระหว่างที่สัญญาร่วมเจรจาต่อรองสิ้นสุดลง  คือเกิดขึ้นในระยะเวลาที่ปลอดสัญญาจ้างที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันไว้และยังไม่ได้ตกลงกันใหม่  สัญญาร่วมเจรจาต่อรองนี้จะผูกพันกันในระยะเวลาสั้น ๆ  , ๒ หรือ ๓ ปี   แต่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.. ๒๕๑๘ ของไทยบัญญัติว่า ข้อเรียกร้องอาจเกิดขึ้นจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการแรงงานสัมพันธ์แล้วไม่สามารถตกลงกันได้นายจ้างจึงปิดงาน ด้วยเหตุนี้การปิดงานจึงเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้
                การนัดหยุดงาน  เป็นการกระทำที่ลูกจ้างใช้เป็นมาตรการในการบังคับนายจ้างให้ตกลงตามข้อเรียกร้องโดยพร้อมใจกันนัดหยุดงานซึ่งเป็นการบังคับทางเศรษฐกิจต่อนายจ้าง  เพื่อให้นายจ้างได้รับความเดือดร้อนจากการพร้อมใจกันไม่ทำงานตามปกติ และตกลงยินยอมตามข้อเรียกร้องหรือข้อเสนอของลูกจ้าง
                วิธีการนัดหยุดงานมักจะเกิดขึ้นจากลูกจ้างบางส่วนที่เกี่ยวช้องกับการเรียกร้องนัดกันผละงานไม่ยอมเข้าทำงานและหยุดงานอยู่จนตกลงกัน  หรือเกิดจากสหภาพแรงงานเป็นผู้นัดหมายให้ลูกจ้างหยุดงาน  การนัดหยุดงานตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ พ.. 2518 บัญญัตินิยามศัพท์ การนัดหยุดงานว่า หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน
จากบทบัญญัติของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์  เห็นได้ว่า การนัดหยุดงานจะต้องมีองค์ประกอบ  3 ประการ คือ
                1.  การนัดหยุดงานเป็นการกระทำของลูกจ้างหลายคน โดยพิจารณาจากถ้อยคำ "การที่ลูกจ้างร่วมกัน………" จะต้องไม่ใช่การกระทำของคนเพียงตนเดียว แต่มีจำนวนเท่าไรนั้นไม่ได้กำหนด จึงพิจารณาจากจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกอบกิจการว่า ลูกจ้างที่ไม่ทำงานได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างจนนายจ้างต้องยอมตามที่ลูกจ้างต้องการหรือไม่
                2.  การนัดหยุดงานเป็นการไม่ทำงานชั่วคราว ซึ่งเป็นการร่วมใจกันไม่ทำงานตามปกติที่เคยทำเพียงชั่วคราว เมื่อเกิดข้อพิพาทแรงงาน ไม่ใช่การหยุดงานตลอดไป เช่น พร้อมใจกันลาออก ซึ่งไม่ตรงกับความหมายของกฎหมาย
                3.  การร่วมใจกันไม่ทำงานนั้นเกิดจากข้อพิพาทแรงงาน ถ้าการร่วมใจกันไม่ทำงานเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ข้อพิพาทแรงงานก็ไม่ถือเป็นการหยุดงานตามความหมายของกฎหมายแรงงาน
                การหยุดงานที่ชอบด้วยกฎหมายต้องเข้าองค์ประกอบทั้ง    ประการที่กล่าว  จึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์  ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบของกฎหมายแรงงานจะไม่ได้รับการคุ้มครองและถ้าในการนัดหยุดงานมีลักษณะเป็นการบังคับรัฐบาล  หรือข่มขู่ประชาชนจะมีโทษทางอาญาตามมาตรา ๑๑๗ ประมวลกฎหมายอาญาด้วย
                การนัดหยุดงานเป็นเครื่องมือของลูกจ้างที่จะบังคับให้นายจ้างกระทำตามความประสงค์ของตน  โดยเอาความเดือดร้อนของนายจ้างที่เกิดขึ้นจากการที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินการผลิตหรือบริการ  มาใช้เป็นมาตรการในการบังคับนายจ้าง  ดังนั้น   การนัดหยุดงานจะได้ผลก็ต่อเมื่อฝ่ายลูกจ้างมีอำนาจในการเจรจาต่อรองมากกว่านายจ้างการนัดหยุดงานของลูกจ้างจะมีผลต่อการต่อรองกับนายจ้างได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านด้วยกันคือ
                1.  ความพร้อมเพรียงของลูกจ้างในการนัดหยุดงาน ถ้าการนัดหยุดงานเกิดขึ้นจำนวนมากหรือทั้งสถานประกอบกิจการก็จะสร้างความชะงักงันในการทำงานได้กว้างขวาง
                2.  ความอดทนของลูกจ้างในการดำรงชีพโดยไม่ได้รับค่าจ้าง
                3.  จำนวนเงินทุนซึ่งต้องใช้จ่ายในระหว่างนัดหยุดงาน
                4.  ลักษณะงานที่ลูกจ้างทำมีความสำคัญต่อนายจ้าง เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญ
                5.  ความต้องการแรงงานของฝ่ายนายจ้างมีเพียงใด
                วิธีการนัดหยุดงานของลูกจ้าง  คือ  ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทแรงงานพากันผละออกจากงานหรือไม่ยอมเข้าทำงาน  และหยุดตลอดไปจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันได้  การนัดหยุดงานของลูกจ้างที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสถานประกอบกิจการหรือทั้งหน่วยงาน  จะทำให้กิจการของนายจ้างต้องหยุดชะงักสิ้นเชิงทันที    แต่ถ้าการนัดหยุดงานของลูกจ้างเกิดขึ้นบางส่วนหรือมีจำนวนลูกจ้างที่หยุดงานเล็กน้อย  ก็จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อนายจ้างไม่มาก  นายจ้างยังสามารถดำเนินการของตนต่อไปได้บ้าง  นายจ้างจะใช้วิธีการต่าง ๆ  เพื่อให้งานของตนไม่เสียหาย  เช่น  ชักชวนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน  ข่มขู่ว่าจะเลิกกิจการหรือเลิกจ้าง  จะให้ค่าจ้างหรือโบนัสสูงขึ้นหรือรับผู้อื่นเข้าทำงานแทนลูกจ้างที่หยุดงาน  ถ้าการกระทำของนายจ้างได้ผลการนัดหยุดงานของลูกจ้างก็ประสบความล้มเหลว
                ในระหว่างนัดหยุดงานลูกจ้างจึงต้องมีกิจกรรมหลายรูปแบบ  เพื่อไม่ให้ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบต่อนายจ้าง  ในต่างประเทศลูกจ้างบางส่วนจะผลัดกันถือป้ายประท้วงบริเวณทางเข้าออกของสถานประกอบกิจการ  มีข้อความว่า  กำลังนัดหยุดงานและชี้เหตุผลในการนัดหยุดงาน  เช่น  การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างหรือการเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
                1.  ชักชวนลูกจ้างที่ยังทำงานเข้าร่วมนัดหยุดงาน
                2.  แสดงตนเป็นลูกจ้างและไม่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้าไปสมัครทำงาน
                3.  ควบคุมไม่ให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานเข้าทำงาน
                4.  ขอความเห็นใจและการสนับสนุนจากประชาชน
                การนัดหยุดงานของลูกจ้างโดยทั่วไปไม่มีกำหนดระยะเวลานานเท่าไร  ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกจ้างและความพอใจในการยอมรับข้อเสนอของลูกจ้าง  หรือเพราะไม่อาจทนนัดหยุดงานอยู่ต่อไป
                การนัดหยุดงานอาจเกิดจากการตัดสินใจของสหภาพแรงงานก็ได้  เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานมีมติเห็นชอบในการนัดหยุดงาน  ก่อนนัดหยุดงาน สหภาพแรงงานต้องวิเคราะห์แล้วว่า  การนัดหยุดงานจะได้รับความร่วมมืออย่างพร้อมเพียงของลูกจ้างทั้งหมดหรือลูกจ้างส่วนใหญ่ในสถานประกอบกิจการ  ลูกจ้างมีความอดทนและมีทุนเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายจนนายจ้างยอมตกลงตามข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้าง
                ค่าจ้างในระหว่างนัดหยุดงาน   เรื่องค่าจ้างในระหว่างนัดหยุดงานเป็นไปตามหลักสัญญาต่างตอบแทน  เมื่อลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้าง  ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามหลัก  no  work  no  pay  ระหว่างการนัดหยุดงานลูกจ้างอาจไปทำงานในที่อื่นใดก็ได้  ขณะที่นายจ้างก็มีความชอบที่จะจ้างผู้อื่นเข้าเป็นลูกจ้าง  ทำงานแทนลูกจ้างที่นัดหยุดงาน
การนัดหยุดงานน่าจะก่อความเสียหายต่อนายจ้างหลายด้านด้วยกันดังนี้
                1.  เสียค่าใช้จ่ายที่จำเป็นซึ่งเป็นการบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิต ค่าใช้จ่ายประจำของสถานประกอบกิจการ (ค่าไฟฟ้า ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินกู้จากสถาบันการเงิน) รวมทั้งค่าจ้างแก่ลูกจ้างที่ไม่ได้นัดหยุดงาน
                2.  การชะงักงันของกระบวนการผลิตทั้งกระบวนการหรือบางส่วน ทำให้ไม่สามารถผลิตหรือผลิตได้ลดน้อยลง เกิดความไม่ราบรื่นในการบริการ นายจ้างขาดรายได้ ไม่มีกำไร ระบบการหมุนเวียนทางการเงินเกิดปัญหา
                3.  เกิดความเสียหาย การเสื่อมสภาพของเครื่องจักร เครื่องมือ วัตถุดิบรวมถึงผลผลิตที่ขาดผู้บำรุงรักษา
                4.  เกิดความเสียหายทางการค้า คือ เสียลูกค้า ขาดความเชื่อถือไว้วางใจในคุณภาพของผลผลิตจากลูกค้า 
                5.  ความเสียหายที่จะต้องชดใช้หรือค่าปรับจากการผิดสัญญากับลูกค้า
                6.  ความเสียหายต่อชื่อเสียง ซึ่งมีความเชื่อกันว่า สถานประกอบกิจการที่มีการนัดหยุดงาน แสดงว่าระบบการบริหารของสถานประกอบกิจการขาดประสิทธิภาพ กระบวนการแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการไม่ดี
                7.  ความเสียหายที่เกิดจากการทำลายทรัพย์สินเมื่อนัดหยุดงานของลูกจ้าง หรือแม้การกระทำผิดทางอาญาของลูกจ้าง    
การนัดหยุดงานยังมีความเสียที่น่าจะเกิดกับลูกจ้างด้วย ดังนี้
                1.  ลูกจ้างต้องว่างงานชั่วคราว ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เคยได้รับ มีปัญหาทางการเงินอาจต้องกู้ยืม มีปัญหาหนี้สินภายหลัง
                3.  การนัดหยุดงานทำให้กิจการของนายจ้างมีปัญหาและส่งผลกระทบไปถึงลูกจ้างด้วย เช่น การจ่ายโบนัสต่ำลง การแบ่งส่วนกำไรลดลง
                4.  เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างเนื่องจากอาจกระทำผิดทางอาญาหรือทางแพ่งระหว่างนัดหยุดงาน
                5.  ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเปลี่ยนไปจากเดิม ที่เคยมีความสัมพันธ์แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน นายจะมีท่าทีเคร่งครัดเอาจริงเอาจังเมื่อมีการนัดหยุดงาน
การนัดหยุดงานยังสร้างความเสียหายเป็นการส่วนรวมต่อประเทศชาติในด้านต่าง ๆ คือ
                1.  ความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ ผลผลิตรวมของประเทศจะลดลง เนื่องจากการนัดหยุดงานทำให้เงินตราต่างประเทศลดลง (การส่งออกน้อยลง) การท่องเที่ยวลดลง ชื่อเสียงและความเชื่อถือทางการค้ากระทบกระเทือน รายได้การจัดเก็บภาษีอากรลดลง
                2. ความเสียหายทางสังคม ทำให้ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ราคาสินค้าสูงขึ้น และมีปัญหาสังคมอื่น ๆ
                3. ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ถ้ามีการนัดหยุดงานในสถานประกอบกิจการรายใหญ่พร้อม ๆ กันหลายแห่ง จะมีผลต่อความสงบสุขของบ้านเมืองและความมั่นคงของประเทศ
ความสำเร็จในการนัดหยุดงาน  การนัดหยุดงานจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
                1. ได้กระทำตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติและถูกกฎหมาย การนัดหยุดงานต้องกระทำและดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือ ได้มีการแจ้งข้อเรียกร้อง เจรจาแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้หรือไม่มีการเจรจา พนักงานประนอมข้อพิพาทได้เข้าไกล่เกลี่ย แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนกระทั่งฝ่ายลูกจ้างนัดหยุดงาน   เมื่อแจ้งให้นายจ้างและพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ฝ่ายนายจ้างยกขึ้นเป็นข้อกล่าวอ้างและใช้เป็นข้อได้เปรียบในการทำข้อตกลง 
                ระหว่างนัดหยุดงาน  กลุ่มผู้นัดหยุดงานต้องระมัดระวังไม่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งประพฤติผิดกฎหมาย  เช่น  การยึดโรงงาน  การกักขังหน่วงเหนี่ยวนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา  การขัดขวางบุคคลหรือสิ่งของไม่ให้เข้าออกในโรงงาน  การปิดประตู  ตั้งเครื่องกีดขวางการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้า  การเอาทรัพย์สินของนายจ้างไปบริโภคหรือจำหน่าย  รวมทั้งการกระทำการหมิ่นประมาทใส่ร้ายในเรื่องส่วนตัว
                2.  กระทำการในเวลาและโอกาสที่เหมาะสม การนัดหยุดงานที่ประสบความสำเร็จต้องลงมือกระทำในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้มีการเจรจาตกลงกันได้โดยไม่ยืดเยื้อ เช่น กระทำในช่วงเวลาที่สถานประกอบกิจการกำลังต้องการแรงงาน หรือเป็นช่วงเวลาที่ตลาดต้องการผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ไม่ควรลงมือกระทำในเวลาที่สินค้าล้นตลาด หรือในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม
                3. ต้องมีความพร้อมเพรียงกันทั้งการกระทำและทุน พลังอำนาจในการต่อรองของลูกจ้างขึ้นอยู่กับความพร้อมเพรียงในการกระทำ ถ้าการนัดหยุดงานเกิดขึ้นทั้งสถานประกอบกิจการก็ยิ่งเป็นการสร้างพลังอำนาจแก่ฝ่ายลูกจ้าง ไม่มีความแตกแยกระหว่างฝ่ายนัดหยุดงานกับฝ่ายที่ประสงค์จะทำงาน นอกจากนั้นยังต้องมีทุนสำหรับใช้จ่ายอย่างเพียงพอในระหว่างนัดหยุดงาน เพราะระหว่างการหยุดงานลูกจ้างไม่มีรายได้ หากขาดแคลนเงินทุนย่อมทำให้วัตถุประสงค์ในการนัดหยุดงานล้มเหลว
                4.  ต้องคำนึงประชาชน การนัดหยุดงานก่อความเดือดร้อนต่อประชาชนเสมอมา เพราะการเคลื่อนไหวของแรงงานทำให้เกิดปัญหาการจราจร ประชาชนที่ใช้ยานพาหนะไม่สะดวกในการเดินทางไปทำงาน งานบริการสาธารณะซึ่งโดยกฎหมายจะปิดงานหรือนัดหยุดงานไม่ได้ แต่ก็มีปัญหาพิพาทแรงงานกับฝ่ายลูกจ้างอยู่เสมอ เช่น ข้อพิพาทของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตกับพนักงานไฟฟ้ากรณีการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน ดังนั้นเมื่อลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานจะนัดหยุดงาน จึงควรทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความจำเป็นในการต้องนัดหยุดงานเป็นการล่วงหน้า