วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

อัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อ
                 อัตราเงินเฟ้อ จากความเข้าใจทั่วไป เงินเฟ้อเกิดเมื่อราคาของสินค้าต่าง ๆ มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่จริง ๆ แล้วการเกิดภาวะเงินเฟ้อนี้ไม่จำเป็นที่ว่า สินค้าทุกตัวต้องมีราคาสูงขึ้นเหมือนกันหมด อาจเป็นได้ที่สินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่อีกบางชนิดมีราคาลดลง แต่สิ่งที่สำคัญ นั่นคือ ราคารวมทั้งหมดโดยเฉลี่ยแล้วสูงขึ้น
                 สิ่งที่วัดความเปลี่ยนแปลงของระดับราคา คือ ดัชนีราคา (Price Index) และมีปัจจัยที่จะชี้ให้เราทราบว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ คือ เวลา ในการเกิดเงินเฟ้อเราไม่สามารถที่จะวัดได้ว่าต้องเกิดขึ้นนานเป็นระยะเวลาเท่าใด หรืออัตราของราคาสินค้าต้องสูงขึ้นเป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยทั่วไปจะถือว่าระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเร็วเพียงใดถือว่าเกิดเงินเฟ้อ
                จากความหมายของเงินเฟ้อข้างต้น ไม่จำเป็นว่าการเกิดเงินเฟ้อต้องเกิดในลักษณะนี้เสมอไป จะมีเงินเฟ้ออยู่อีกประเภทหนึ่งที่ไม่ปรากฎการขึ้นลงของราคา เนื่องจากราคาสินค้าถูกมาตรการบางอย่างตรึงราคาไว้ เช่น การปันส่วน การควบคุมราคา ฯลฯ และจะเกิดขึ้นบ่อยในยามที่เกิดการขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรง หรือเวลาเกิดสงคราม เงินเฟ้อชนิดนี้เรียกว่า เงินเฟ้อที่ถูกกดดัน (Suppressed Inflation)
ความรุนแรงของเงินเฟ้อมี 2 ประเภท ดังนี้
                 1.) เงินเฟ้ออย่างอ่อน (Creeping or Gradual or Mild Inflation) เงินเฟ้อประเภทนี้ จะสามารถสังเกตได้ว่าระดับราคาของสินค้าจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ก็เป็นอันตรายและสามารถสร้างปัญหาให้กับประเทศอุตสาหกรรมได้เช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์มองว่า เงินเฟ้อประเภทนี้ อาจให้ประโยชน์แก่เศรษฐกิจในด้านของการเพิ่มสูงขึ้นของราคาจะช่วยกระตุ้นการบริโภคของประชากร , อัตราการลงทุนสูงขึ้น ดังนั้นรายได้จะสูงขึ้น แต่ถ้ากลับมองในอีกแง่หนึ่งถ้าเรากำจัดเงินเฟ้อประเภทนี้ อาจก่อให้เกิดการว่างงานมากขึ้น
                2.) เงินเฟ้ออย่างรุนแรง (Hyperinflation) เงินเฟ้อประเภทนี้จะสามารถสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น เมื่อซื้อสินค้าในวันหนึ่ง ๆ จะได้ราคาที่แตกต่างกันในแต่ละช่วง คือ เช้าราคาหนึ่ง สายก็อีกราคาหนึ่งแต่พอตกเย็นก็จะเป็นอีกราคาหนึ่ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ก่อให้เกิดการทำลายระบบเศรษฐกิจอย่างมาก มันจะทำให้หน้าที่ของเงินหมดไป การแลกเปลี่ยนจะกลับมาสู่สิ่งของแลกสิ่งของแทน ประเทศที่ประสบปัญหานี้ คือ เยอรมันและอินโดนีเซีย
ลักษณะของเงินเฟ้อ
                   1.) ดีมานด์เกิน (Demand Pull Inflation) เงินเฟ้อเพราะดีมานด์เกิน ทฤษฎีเงินเฟ้อดั้งเดิมอธิบายสาเหตุของเงินเฟ้อว่า เกิดจากการที่ดีมานด์มวลรวมมีมากกว่าซัพพลายมวลรวม ณ ระดับราคาสินค้าที่เป็นอยู่ขณะนั้น ผลทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าเราเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น แต่ไม่ให้ระดับการจ้างงานเพิ่มขึ้นตาม นั่นคือ ผลผลิตจะสามารถเพิ่มขึ้นโดยต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยยังคงเดิม ดังนั้น การที่ดีมานด์มวลรวมเพิ่มขึ้นในขณะที่การผลิตขณะนั้นอยู่ไกลการมีงานทำเต็มที่ เงินเฟ้อจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าดีมานด์มวลรวมเพิ่มในขณะที่การผลิตอยู่ ณ ระดับการมีงานทำเต็มที่ ทำให้ราคาเพิ่มโดยที่ผลผลิตไม่เพิ่มตาม เคนส์เรียกเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่แล้วว่า เงินเฟ้อแท้จริง” (True Inflation)
                     2.) ต้นทุนเพิ่ม (Cost – Push Inflation) มีสาเหตุมาจากด้านซัพพลาย เมื่อต้นทุนเพิ่ม จะทำให้ซัพพลายลดลง ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าดีมานด์มีค่าคงที่ ผลผลิตจะลดลง แบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
                                    2.1  เงินเฟ้อเพราะค่าจ้างเพิ่ม (Wage – Pash Inflation) เกิดจากการขึ้นสูงของค่าจ้าง โดยดีมานด์ของแรงงานมิได้มีมากกว่าซัพพลายของแรงงานขณะนั้น ซึ่งเป็นไปได้ แต่ในทางเศรษฐกิจที่ทั้งตลาดแรงงานและตลาดผลผลิตมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์เท่านั้น เพราะโดยปกติแล้วตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ การขึ้นค่าจ้างและราคาสินค้าจะเป็นไปโดยกลไกของตลาดอย่างเดียวเท่านั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อในลักษณะนี้ค่อนข้างยาก มาตรการที่ได้ผล ควรจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมค่าจ้างโดยตรง ในยามที่เกิดภาวะการณ์เช่นนี้รัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกเอาระหว่างการที่จะให้ระดับราคาสินค้ามีเสถียรภาพ แต่ทำให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น หรือการว่างงานน้อยลงแต่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น
                                  2.2 เงินเฟ้อเพราะกำไรเพิ่ม (Prafit – Push Inflation) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทางด้านซัพพลายหรือต้นทุนการผลิต เนื่องจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าตลาดที่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์ (Perfect Market) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาสินค้าหรือค่าจ้างจะเป็นไปโดยกลไกตลาด เพราะฉะนั้นปัญหาภาวะการณ์เช่นนี้เกิดเฉพาะตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์เท่านั้น คือ ผู้ผลิตมีอำนาจที่จะกำหนดราคาสินค้าได้เอง                    
                   3.) เงินเฟ้อเพราะสาเหตุอื่น ๆ
                                3.1 โครงสร้างดีมานด์เปลี่ยนแปลง (ฺBottleneck or Structural Inflation) เมื่อระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนาขึ้น การบริโภคและโครงสร้างจะมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว แต่โครงสร้างการผลิตยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จึงทำให้เกิดดีมานด์ส่วนเกิน (ฺExcess Demand) ราคาสินค้าสูงขึ้น และทำให้สินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นด้วย แต่เงินเฟ้อประเภทนี้ไม่สามารถใช้การแก้ไขได้แบบเดียวกับ Demand Pull Inflation เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ปัญหาเงินเฟ้อลดลงแล้วจะยังคงก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานด้วย
                                3.2- เงินเฟ้อที่เกิดจากการติดต่อระหว่างประเทศ (ฺInternational Transmission of Inflation)
                                           3.2.1) ผ่านทางสินค้าออก คือ เมื่อตลาดต่างประเทศมีความต้องการที่จะซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าที่จะส่งออกของไทยจึงสูงขึ้น ทำให้ความต้องการที่จะขายสินค้าภายในประเทศลดต่ำลง นั่นคือ ดีมานด์ที่ต้องการส่งออกมีมากทำให้ซัพพลายที่เหลืออยู่ในประเทศลดลง เช่น ราคาน้ำตาลทราย
                                          3.2.2) ผ่านทางสินค้าเข้า เช่น ไทยสั่งซื้อเป็นสินค้านำเข้า เมื่อน้ำมันของตลาดโลกสูงขึ้น ราคาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่ใช้น้ำมันเหล่านี้เป็นส่วนประกอบก็จะพลอยสูงขึ้นตาม
แนวทางการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ
                   รัฐบาลใช้มาตรการทางการเงิน โดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย แต่การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในกรณีเงินเฟ้อผ่านทางสินค้าเข้าเช่น ราคาน้ำมัน การขึ้นอัตราดอกเบี้ย เป็นการซ้ำเติมผู้ผลิตเพราะมีต้นทุนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในภายหลังมีนักเศรษฐศาสตร์บางสำนัก ใช้มาตรการกระตุ้นการบริโภคแทน

Microsoft Access

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ  Microsoft  Access
          Microsoft Office Access  2003  เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันอ่างแพร่หลาย  เนื่องจาก  Access  2003  เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีความสามารถในหลาย ด้าน  ใช้งานง่าย  ซึ่งผู้ใช้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่การออกแบบฐานข้อมูลจัดเก็บข้อมูล  เขียนโปรแกรมควบคุม  ตลอดจนการทำรายงานแสดงผลของข้อมูล
          Access  2003  เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ใช้ง่าย  โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมก็สามารถใช้งานได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดในการเขียนโปรแกรมให้ยุ่งยาก  และสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมมืออาชีพนั้น  Access  2003  ยับตอบสนองความต้องการในระดับที่สูงขึ้นไปอีกเช่น  การเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่น เช่น  SQL ERVER,ORACLE  หรือแม้แต่การนำข้อมูลออกสู่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Access  2003  สามารถช่วยเราทำอะไรได้บ้าง
          สามารถสร้างระบบฐานข้อมูลใช้งานต่าง ได้โดยง่าย  เช่น  โปรแกรมบัญชีรายรับ  รายจ่าย,  โปรแกรมควบคุมสินค้า,  โปรแกรมฐานข้อมูลอื่น   เป็นต้น  ซึ่งสามารถทำได้โดยง่านเพราะ  Access  2003  มีเครื่องมือต่าง ให้ใช้ในการสร้างโปรแกรมได้โดยง่าย  และรวดเร็ว
          โปรแกรมที่สร้างขึ้นสามารถตอบสนองผู้ใช้ได้ตามต้องการ  เช่น  การสอบถามยอดสินค้า,  การเพิ่มสินค้า,  การลบสินค้า,  การแก้ไขข้อมูลสินค้า  เป็นต้น
          สามารถสร้างรายงานเพื่อแสดงข้อมูลที่ต้องการ  ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ
          สามารถสร้างระบบฐานข้อมูล  เพื่อนำไปใช้ร่วมกับฐานข้อมูลอื่น ได้โดยง่าย  เช่น  SQL ERVER ORACLE  ได้
          สามารถนำเสนอข้อมูลออกสู่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ก็สามารถทำได้โดยง่าย  และอีกมากมายในระบบฐานข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการ

ความต้องการพื้นฐานในการติดตั้งโปรแกรม  Microsoft  Access  2003
          แต่ก่อนที่จะทำการติดตั้งโปรแกรม  เราควรทำการสำรวจความต้องการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมเพียงพอสามารถใช้งาน  Microsoft  Office  Access  2003  ได้มีดังนี้
          1.   เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วอย่างต่ำ  233  MHz  หรือ  Pentium  III  ขึ้นไป
          2.  ควรมีหน่วยความจำ  ( RAM )  64  MB  ขึ้นไป  แต่แนะนำว่าควรเป็น  128  MB  ขึ้นไป
               เป็นอย่างต่ำ
          3.  ระบบปฏิบัติการขั้นต่ำควรเป็น  Microsoft Windows 2000 with Service Pack 3 หรือ
               Windows XP 
          4.  ฮาร์ดดิสก์ถ้าทำการติดตั้ง  Microsoft Office 2003  ทั้งหมด  ฮาร์ดดิสก์ควรจะมีพื้นที่ว่าง 
MB  ขึ้นไป  แต่ถ้าติดตั้งเพียง  Microsoft Office  Access  ฮาร์ดดิสก์ควรมีพื้นที่ว่าง
      425  MB  ขึ้นไป

การติดตั้ง  Microsoft  Office  Access  2003
สำหรับโปรแกรม Microsoft  Office  Access  2003   นี้เป็นโปรแกรมหนึ่งที่บรรจุอยู่ในชุดโปรแกรม Microsoft  Office  2003  ซึ่งในส่วนของการติดตั้งนั้น  เราสามารถเลือกได้ว่า  เราจะทำการติดตั้งชุดโปรแกรมทั้งหมด  หรือจะติดตั้งเฉพาะในส่วนของโปรแกรมที่ต้องการ  ซึ่งการติดตั้งโปรแกรมในแต่ละประเภทนั้นมีวิธีการดังนี้

การติดตั้งโปรแกรมเฉพาะโปรแกรมที่ต้องการ
          สำหรับในการติดตั้งชุดโปรแกรม  Microsoft Office  นั้น  เราสามารถเลือกติดตั้งเฉพาะในส่วนของโปรแกรมที่ต้องการได้  อย่างเช่นถ้าต้องการติดตั้งเฉพาะโปรแกรม  Microsoft  Access  ก็สามารถทำได้ดังนี้
1.  ใส่แผ่น  CD-ROM  ของ Microsoft Office  2003  ลงไปในไดร์ฟซีดีรอมเพื่อทำการ
      ติดตั้งโดยอัตโนมัติ